ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์การศึกษา  หลักสูตรเดิม ข้อมูลจากบุคลากร ได้แก่บุคคลภายนอก นักวิชาการแต่ละสาขา ข้อมูลทางธรรมชาติของความรู้ทางปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษา การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนต่างๆตั้งแต่กระบวนการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กระบวนการกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวนและกระบวนการประเมินผล เพื่อให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆในอนาคตจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆจากหลายๆแห่งและจากบุคคลหลายๆฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงมาพัฒนาหลักสูตร  สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  และอารมณ์  เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและประเทศชาติหรือกล่าวโดยสรุปคือสามารถใช้หลัดสูตรเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมใหม่ในทิศทางที่ถูกต้องได้
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษา วิเคราะห์ สำรวจ  วิจัย สภาพพื้นฐานด้านต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้สนับสนุน อ้างอิงในการตัดสินใจดำเนินการต่างๆเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดี สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ และทัศนะคติที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้
การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก  การที่จะจัดหลักสูตรให้มีคุณภาพนั้นผู้พัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลหลายๆด้านเพ่อที่จะได้ข้อมูลที่สมจริงไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน  สังคมหรือการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างเพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรในเรื่องต่างๆคือ
-  ช่วยให้มองเห็นภาพรวมว่า ในการจัดทำหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้างและสิ่งต่างๆเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อหลักสูตรอย่างไร
-  ช่วยให้สามารถกำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม เช่น การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และการกำหนดเนื้อหาวิชา ฯลฯ
-  ช่วยให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนกานสอนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
-  ช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอันจะส่งผลให้การดดำเนินการในอนาคตประสบผลดียิ่งขึ้นข้อมูลต่างๆที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรนั้น  นักการศึกษาทั้งต่างประเทศและนักการศึกษาไทย ได้แสดงแนวทางไว้ดังนี้

1.  เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในกานพัฒนาหลักสูตรไว้ว่า
        1.  ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
        2.  ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมซึ่งสนับสนุนโรงเรียน
        3.   ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
        4.   ความรู้ที่ได้สะสมไว้และความรู้ที่จำเป็นอย่างยื่งที่ต้องให้แก่นักเรียน

2.  ทาบา  กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
         1.   สังคมและวัฒนธรรม
         2.   ผู้เรียนและกระบวนการเรียน
         3.   ธรรมชาติของความรู้

3.    ไทเลอร์ กล่าวถึงสิ่งที่ควรพิจารณาในการสร้างจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ
          1.  ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน  ซึ่งได้แก่ความต้องการของผู้เรียนและความสนใจของผู้เรียน
          2.  ข้อมูลจากการศึกษาชีวิตภายนอกโรงเรียน
          3.  ข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
          4.  ข้อมูลทางด้านปรัชญา
          5.  ข้อมูลทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้

4. จากการรายงานของคณะกรรมการวางพื้นฐานการปฏิรูปการศึกษาได้กำหนดข้อมูลต่างๆในการกำหนดจุดม่งหมายทางการศึกษาและในการจัดการศึกษาของประเทศดังนี้
              1.  สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
              2.  สภาพแวดล้อมทางประชากร
              3.  สภาพแวดล้อมทางสังคม
              4.  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
               5.  สภาพแวดล้อมทางการเมือง
               6.  การปกครองและการบริหาร
               7.  สภาพแวดล้อมทางศาสนาและวัฒนธรรม
               8.  สภาพของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

5.   กาญจนา  คุณารักษ์ กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
                1.  ตัวผู้เรียน
                2.  สังคมและวัฒนธรรม
                3.  ธรรมชาติและคุณสมบัติของการเรียนรู้
                4.  การสะสมความรู้ที่เพียงพอและเป็นไปได้เพื่อการให้การศึกษา

6.   ธำรง บัวศรี กล่าวว่าพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
              1.  พื้นฐานทางปรัชญา
              2.  พื้นฐานทางสังคม
              3.  พื้นฐานทางจิตวิทยา
              4.  พื้นฐานทางความรู้และวิทยาการ
              5.  พื้นฐานทางเทคโนโลยี
              6.  พื้นฐานทางประวัติศาสตร์

7.   สงัด   อุทรานันท์   กล่าวถึงพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
             1.  พื้นฐานทางปรัชญาการศึกษา
             2.  ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม
             3.  พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียน
             4.  พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้
             5.  ธรรมชาติของความรู้

8.  สุมิตร  คุณานากร  กล่าวถึงข้อมูลต่างๆในการพัฒนาหลักสูตรจำแนกตามแหล่งที่มาได้ 6 ประการ คือ
              1.  ข้อมูลทางปรัชญา
              2.  ข้อมูลที่ได้จากนักวิชาการแต่ละสาขา
              3.  ข้อมูลที่ได้จากจิตวิทยาการเรียนรู้
              4.  ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสังคมของผู้เรียน
              5.  ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาความต้องการของผู้เรียน
              6.  ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทางเทคโนโลยี
9.  สาโรช ฃบัวศรี ได้กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐาน 5 ประการ คือ
-  พื้นฐานทางปรัชญา
-   พื้นฐานทางจิตวิทยา
-  พื้นฐานทางสังคม
พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
-   พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี
จะเห็นได้ว่าข้อมูลพื้นฐานที่นำมาศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรมีมากมายหลายด้าน สำหรับประเทศไทยควรจัดลำดับข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
สังคมและวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ
การเมืองการปกครอง
สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคม
พัฒนาการทางเทคโนโลยี
สภาพสังคมในอนาคต
-  บุคคลภายนอกและนักวิชาการแต่ละสาขา
โรงเรียน ชุมชน หรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
ประวัติศาสตร์การศึกษาและหลักสูตรเดิม
ธรรมชาติของความรู้
ปรัชญาการศึกษา
จิตวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น