1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ
การพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานในการพัฒนาที่สำคัญ
ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานอย่างน้อย 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา
และพื้นฐานด้านสังคม รวมไปถึงพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ
ซึ่งมีความสำคัญดังต่อไปนี้
>>พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
ปรัชญาการศึกษานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร
โดยใช้กำหนดจุดมุ่งหมาย เลือกเนื้อหาสาระและนำมาจัดหลักสูตรได้อย่างเป็นระบบ
ทำให้หลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ ปรัชญามุ่งศึกษาชีวิตและจักรวาล
ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์
ปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ
การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการ
และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา
นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา
สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน
>>ลักษณะปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นระบบที่แน่นอนพอสมควร
โดยทั่วไปประกอบด้วยประเด็นดังนี้
1. คำจำกัดความของการศึกษา
2. ความมุ่งหมายของการศึกษา
3. นโยบายหรือแนวทางเพื่อการปฏิบัติในการจัดการศึกษา
4. เรื่องอื่นๆ เช่น วิธีการสอนที่จะให้เกิดการเรียนรู้
1. คำจำกัดความของการศึกษา
2. ความมุ่งหมายของการศึกษา
3. นโยบายหรือแนวทางเพื่อการปฏิบัติในการจัดการศึกษา
4. เรื่องอื่นๆ เช่น วิธีการสอนที่จะให้เกิดการเรียนรู้
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554) สรุปสาระสำคัญของปรัชญาการศึกษาไว้ ดังนี้
สารัตถนิยม
(Essentialism) การศึกษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรม
และอุดมการณ์ทางสังคม การจัดการเรียนการสอนเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระต่างๆ
ให้กับผู้เรียน
นิรันตรนิยม
/ สัจจนิยม (Perennialism) มนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผล
การควบคุมตนเอง การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนจดจำ การใช้เหตุผล
และตั้งใจทำสิ่งต่างๆ
อัตถิภาวนิยม / สวภาพนิยม (Existentialism) มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้กำหนดหรือแสวงหาสิ่งสำคัญ และตัดสินใจด้วยตนเอง การจัดการศึกษาจึงให้เสรีภาพในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง
อัตถิภาวนิยม / สวภาพนิยม (Existentialism) มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้กำหนดหรือแสวงหาสิ่งสำคัญ และตัดสินใจด้วยตนเอง การจัดการศึกษาจึงให้เสรีภาพในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง
ปฏิรูปนิยม
(Reconstructionism) การปฏิรูปสังคมเป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม
การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
พิพัฒนนิยม
(Progressivism) การดำรงชีวิตที่ดี
อยู่บนพื้นฐานของการคิดและการกระทำ การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนคิด
ลงมือกระทำ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
นอกจากนี้ วิชัย วงษ์ใหญ่
กล่าวถึงประโยชน์ของวิธีการทางปรัชญาที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไว้ดังนี้
1.การจัดจำแนกระบบความคิดความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาที่จะสะท้อนไปสู่การพัฒนาหลักสูตร
2.ปรัชญาเป็นพื้นฐานและเป็นตัวนำไปสู่การตรวจสอบ
เสนอแนะเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ตรวจสอบความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายการศึกษากับสังคม
3.กระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างกว้างขวาง
วิธีการทางปรัชญาจะช่วยทำให้เกิดความคิดแบบองค์รวม มีเอกภาพทางความคิด
4.วิธีการทางปรัชญา จะทำการวิเคราะห์สาระและธรรมชาติของการศึกษา เช่น
ความรู้อะไรที่เป็นประโยชน์ และการจัดการศึกษาอย่างไร
จึงจะพัฒนาชีวิตของคนให้มีคุณภาพ
>>พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรนั้น
นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร
มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร
จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism)
นอกจากข้อมูลที่เกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้แล้ว ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียนซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism)
นอกจากข้อมูลที่เกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้แล้ว ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียนซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องดังนี้
โดนัล
คลาก (Donald Clark) กล่าวว่าขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความจำเป็นและใช้ประโยชน์ได้มาก
เมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเสนอโปรแกรมการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต่างๆดังต่อไปนี้
- จำนวนผู้เรียน
- ทำเลข/ที่ตั้งของผู้เรียน
- การศึกษาและประสบการณ์ของผู้เรียน
รวมถึงประสบการณ์ในปัจจุบัน
- ภูมิหลังของผู้เรียน
- ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานที่ต้องการกับระดับทักษะในปัจจุบัน
- ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียน
- สิ่งเร้าของผู้เรียน
- แรงจูงใจของผู้เรียน
- ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน
- ความสนใจพิเศษหรืออคติของผู้เรียน
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียน
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของประชากรกลุ่มเป้าหมายในการจัดการศึกษา
โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ภาพรวมของผู้เรียนว่าผู้เรียนอยู่ในระบบการศึกษาแบบใด
เพื่อมุ่งค้นหาผู้สอนได้อย่างถูกต้องแน่นอน ซึ่งผลการวิเคราะห์ผู้เรียนจะช่วยปรับปรุงผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความจำเป็นของผู้เรียน
คอคซิม
( Cogsim) เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ผู้เรียน
โดยกำหนดคำถามเกี่ยวกับผู้เรียนในประเด็นต่างๆดังนี้
- ทักษะ(skill) และเจตคติ(attitudes)
- ประสบการณ์(experiences)
-
มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน(misconceptions)
- สถานภาพของผู้เรียน (demographics)
- เป้าหมาย(goal)
- การนำไปใช้(uses)
- แบบการเรียนรู้ที่ต้องการ(preferred learning
styles)
- แรงจูงใจ(motivations)
- ความสามารถทางภาษา(language abilities)
- ศัพท์เฉพาะ(technical vocabularies
กรมวิชาการ
และคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
กล่าวสรุปว่า
วิธีวิเคราะห์ผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้สอนได้รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายที่จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแล้วนำไปจัดกลุ่มผู้เรียนในลักษณะกลุ่มเหมือน
หรือกลุ่มคละ หรือกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะในเรื่องทักษะ
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเช่น การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ การทำแบบทดสอบก่อนเรียน ระเบียนสะสม แฟ้มผลงาน บันทึกสุขภาพ เป็นต้น
3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำเสนอให้เห็นองค์รวมของผู้เรียนใน 3 ด้านคือ ความสนใจ สติปัญญา วุฒิภาวะ และวิธีการเรียนรู้
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเช่น การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ การทำแบบทดสอบก่อนเรียน ระเบียนสะสม แฟ้มผลงาน บันทึกสุขภาพ เป็นต้น
3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำเสนอให้เห็นองค์รวมของผู้เรียนใน 3 ด้านคือ ความสนใจ สติปัญญา วุฒิภาวะ และวิธีการเรียนรู้
>>พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมที่สำคัญที่ควรศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม และแนวคิดของการพัฒนาการทางสังคมซึ่งมี 5
ยุคคือ
1.ยุคเกษตรกรรม
2.ยุคอุตสาหกรรม
3.ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล
4.ยุคข้อมูลพื้นฐานความรู้
5. ยุคปัญญาประดิษฐ์
การศึกษาข้อมูลดังกล่าวนั้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคสมัยต่างๆ
ประการสำคัญอีกประการหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมนั้นมุ่งการสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือของชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร
เพราะบางรายวิชา
สภาพชุมชนและสังคมไม่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควรก็อาจเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา โดยข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคมนี้
สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากเอกสารรายงานต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ
สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ
>>พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
การศึกษาจึงต้องสอดคล้องไปกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร
และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย
ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอนแบบทางไกล
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เน็ต (internet) ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ
1.นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม
2.ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มีผลทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต
จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม
>> พื้นฐานทางด้านการเมือง
การปกครอง
การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา
หน้าที่ที่สำคัญของการศึกษาคือ
การสร้างสมาชิกที่ดีให้กับสังคมให้อยู่ในระบบการเมืองการปกครองทางสังคมนั้น
หลักสูตรจึงต้องบรรจุเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังและสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข
ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของสังคม
เช่น การมุ่งเน้นพฤติกรรมด้านประชาธิปไตย เป็นต้น
ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาปรับพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนา
หลักสูตร เช่น ระบบการเมือง ระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ เป็นต้น
>> พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคมที่มีสภาพเศรษฐกิจดี
จะทำให้สามารถจัดการศึกษาให้กับคนในสังคมได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. การเตรียมกำลังคน
การศึกษาผลิตกำลังคนในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ
สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาอาชีพ คือมีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่าง ๆ
ตรงตามที่ต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2. การพัฒนาอาชีพ
จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น
3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4. การใช้ทรัพยากรให้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังความสำคัญของทรัพยากร
ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสังคม
6. การลงทุนทางการศึกษา
คำนึงถึงคุณค่าและผลตอบแทนของการศึกษา
เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าระบบการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุ
2.แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา
หรือผู้รู้
เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาของประเทศไทยได้รับอิทธิพลหรือมีปัจจัยสำคัญใด
ตอบ
จุดเปลี่ยนการศึกษาไทย คำตอบอยู่ที่...ห้องเรียน
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังพูดถึงการศึกษาศตวรรษที่
21 ซึ่งว่าด้วยการปลูกฝังทักษะความรู้เพื่อเตรียมพร้อมให้เยาวชนสามารถรับมือกับความท้าทายอันเกิดมาจากความซับซ้อนของสังคมและปัญหาใหม่ๆ
ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน ระบบการศึกษาไทยยังคงประสบกับวิกฤติที่แก้ไม่ตก การวัดประเมินผลทางการศึกษาด้วยมาตรวัดต่างๆ
พบว่านักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำ
อยู่ในระดับรั้งท้ายของการจัดอันดับนานาชาติ
อีกทั้งยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกาภิวัตน์
ไม่ว่าจะจับไปที่จุดใดก็ดูเหมือนจะพบแต่ปัญหา
ถ้าเช่นนั้นแล้วความหวังที่จะออกจากวังวนดังกล่าวมีหรือไม่ คืออะไร?
ฟังคำตอบจาก ผศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครูผู้ปฏิวัติชั้นเรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่
โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบปลายเปิด (Open Approach) จากญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นประเทศแรกที่เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนไปสู่การให้ความสำคัญกับกระบวนการคิด
และเชื่อว่าความถูกต้องไม่ได้อยู่ที่คำตอบแต่อยู่ที่การให้เหตุผล ประสบการณ์กว่า 30
ปีของอาจารย์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ลดบทบาทการ
“สอน” ของครู แต่เพิ่มการ “ถาม” เพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้จักคิด
สามารถเกิดขึ้นได้จริงในบริบทสังคมไทย เป็นที่ประจักษ์ในโรงเรียนนับร้อยแห่ง
ญี่ปุ่นเป็นชาติแรกๆ
ของโลกที่มองเห็นจุดอ่อนของการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่เน้นเนื้อหาสาระวิชา
และเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่การสอนซึ่งเน้นที่กระบวนการคิดของนักเรียน
เริ่มตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
เมื่อญี่ปุ่นจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
หลักสูตรที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 ได้กำหนดเรื่องการสอนทักษะการคิดไว้อย่างชัดเจน
ก่อนหน้าที่ทั่วโลกจะเกิดความตื่นตัวในประเด็นดังกล่าวเกือบ 50 ปี
แม้แต่ในรายวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งดูเหมือนศาสตร์ที่มีคำตอบถูกผิดไว้อย่างตายตัว
ก็ยังสอนให้เด็กนักเรียนพัฒนากระบวนการคิดในเชิงตรรกะ (Mathematical
Thinking) ไม่ใช่การสอนคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์สุดท้าย
การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด หรือ “กระบวนทัศน์ใหม่ของการเรียนการสอนในห้องเรียน”
เริ่มปรากฏให้เห็นจากฝั่งยุโรป ดังเช่นที่เนเธอร์แลนด์ ฮังการี
จากนั้นจึงข้ามฝั่งมายังอเมริกา
ส่วนสิงคโปร์เพิ่งเริ่มต้นปรับชั้นเรียนเมื่อหลังปี 2000 แต่ก็มีการพลิกโฉมก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันทั้งญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฟินแลนด์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน ฯลฯ
ล้วนตกผลึกความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบไม่เน้นการท่องจำ
จนเกิดเป็นตำราและคู่มือครูที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
และกลายเป็นผู้นำด้านการศึกษาที่ทั่วโลกอยากดำเนินรอยตาม
“ถ้าการศึกษาไทยยังไม่เปลี่ยน
คนจะขาดความสามารถในการคิดเชิงแก้ไขปัญหา เอาผลมาเป็นเหตุเอาเหตุมาเป็นผล
มั่วไปหมด ระบบการศึกษาของหลายประเทศทั่วโลกกำลังติดอยู่ในกับดักแบบเดียวกันนี้
แนวโน้มความเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงจึงมุ่งไปที่การสอนด้วยวิธีแก้ไขปัญหา (Problem
Solving Approach) เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง”
ปัญหาคุณภาพการศึกษามักจะถูกเชื่อมโยงไปยังบทบาทและคุณภาพของครูผู้สอน
แต่ทัศนะเช่นนี้กลับจะทำให้ครูตกเป็นจำเลยของสังคม
ซึ่งไม่ใช่หนทางที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหา แน่นอนว่าจุดเปลี่ยนของปัญหานี้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงในระดับห้องเรียน
แต่จะต้องมองชั้นเรียนในฐานะที่เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional
Learning Community-PLC)
“การแก้ไขปัญหาการศึกษา เราต้องปักหมุดไปที่โรงเรียน
แต่ให้ครูทำงานฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องมานั่งหัวโต๊ะทุกสัปดาห์ด้วย
เพื่อมาวางแผนการทำงานร่วมกับครู
ให้ครูนำเสนอแผนการสอนเป็นรายคาบแล้วมาร่วมกันสะท้อนความเห็น (Reflection) ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องทำหน้าที่ศึกษานิเทศก์ร่วมกับครูชำนาญการ
ครูเชี่ยวชาญ ก่อนเปิดภาคเรียนก็ต้องร่วมกันวางแผน ครูห้ามทำงานคนเดียว ครู ป.1-ป.3 ต้องจัดเป็นทีมเดียวกัน ป.4-ป.6 อีกทีมหนึ่ง
เพราะการทำงานคนเดียวทำให้เกิดนวัตกรรมไม่ได้
“ทุกวันนี้ แต่ละโรงเรียนต่างคนก็ต่างอยู่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกัน
ผู้อำนวยการก็วิ่งไปเขตไปนู่นไปนี่ ศึกษานิเทศก์ที่มีกว่าสี่พันคนก็มักจะอยู่ตามเขตคอยทำงานส่งกระทรวง
เขาไม่ค่อยลงไปโรงเรียนอยู่แล้ว
ครูจึงยังไม่มีวิธีการสอนที่ดีและไม่มีกระบวนการปรับปรุงการทำงาน”
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของครู
ให้มีการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องแล้ว
วัฒนธรรมเชิงอำนาจระหว่างครูกับศิษย์ก็ต้องเปลี่ยนแปลง
“ห้องเรียนไทยไม่เคยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
เวลาครูโยนคำถามแล้วนักเรียนแสดงความคิดเห็นกลับมา ครูบางคนบอกว่ารับไม่ได้
ความคิดแบบนั้นผิด เขาจะผิดได้ยังไงล่ะเพราะเขายังไม่ได้ให้เหตุผลเลย
ถ้าอย่างนั้นแปลว่าความคิดของทุกคนควรจะถูก
เพราะมันคือการยอมรับความมีเหตุผลของเขา ซึ่งเท่ากับยอมรับความเป็นคน
ถ้าคุณปฏิเสธความคิดของเขาก็แปลว่าคุณปฏิเสธความเป็นคนของเขาด้วย”
ห้องเรียนที่ดีจึงเป็นพื้นที่ที่นักเรียนได้พูด
ได้แสดงความคิดเห็น และมีโอกาสทำงานเป็นกลุ่ม
เพื่อแก้ไขปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเป็นโจทย์
ชั้นเรียนที่ครูเป็นผู้กุมบทบาทในการพูดมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของคาบเรียนไม่มีวันนำนักเรียนไปสู่การแก้ปัญหา
ครูจึงต้องรู้จัก “เอาเทปปิดปากตัวเองไว้” เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สังเกตห้องเรียน แล้วคอยจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ระบบการบริหารแบบราชการที่ครอบงำโรงเรียนอยู่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารการศึกษา
การที่ส่วนกลางไม่ได้กระจายอำนาจการบริหารที่แท้จริงลงไปยังพื้นที่นับเป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษา
ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาจะพบว่าไม่ได้เป็นระบบแบบรวมศูนย์
“เรามีความพยายามในการวางรากฐานด้านการศึกษามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
และนับแต่นั้นมาโรงเรียนของเราไม่เคยเปลี่ยน
เพราะเราฝึกโรงเรียนให้เป็นระบบราชการ กลไกที่บริหารจัดการก็เป็นระบบราชการ
และเป้าหมายก็เป็นไปเพื่อราชการ มันจึงมีปัญหา ที่ญี่ปุ่นใครก็สั่งให้ครูออกไปทำงานอย่างอื่นนอกโรงเรียนไม่ได้
แต่ของเราผู้อำนวยการสั่งงดการเรียนการสอนเพื่อไปทำงานอย่างอื่นนอกโรงเรียนได้
และส่วนกลางก็สามารถดึงครูออกจากห้องเรียนไปอบรมอะไรต่อมิอะไรได้เต็มไปหมด”
นอกจากนั้น นโยบายการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของฝ่ายการเมือง
ทำให้การพัฒนาการศึกษาไทยขาดทั้งทิศทางที่ชัดเจนและความต่อเนื่องในระดับปฏิบัติ
ดังนั้น
จึงควรมีการบัญญัติกฎหมายควบคุมดังเช่นที่เกาหลีใต้กำหนดไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแกนกลางภายใน
7 ปี ญี่ปุ่นกำหนดมิให้เปลี่ยนแปลงไว้ถึง 10 ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปรับใช้กับหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรระดับผู้เรียน
ก็จะทำให้เกิดความต่อเนื่องและสามารถวัดประเมินผลได้จริง
ปัจจุบัน
ประเทศไทยมีคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนกับคุรุสภาประมาณ 80 แห่ง
เมื่อนับรวมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าไปด้วยจะมีสถาบันผลิตบุคลากรทางการศึกษาประมาณ
150 แห่ง คิดเป็นจำนวนครูที่ป้อนเข้าสู่ระบบถึงปีละกว่า 50,000
คน หากสถาบันผลิตครูเอาจริงเอาจังด้านคุณภาพและมาตรฐาน
และปลูกฝังกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาให้กับบัณฑิต
แน่นอนว่าจะเป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยได้
“คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ทั้งประเทศไม่ได้ตระหนักตรงนี้
หลักสูตรฝึกหัดครูไม่ได้ให้เครื่องมือที่จำเป็นและยังเน้นการสอนเนื้อหาอยู่เหมือนเดิม
...ผมไม่เห็นด้วยเรื่องเรียนจบหลักสูตร 5 ปีแล้วทุกคนสามารถได้ใบประกอบวิชาชีพครูทันที
ทั้งๆ ที่ทั่วโลกการได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่ได้เกี่ยวกับหลักสูตรเลยแต่ทุกคนต้องผ่านกระบวนการสอบเพื่อวัดคุณภาพอีกครั้ง
คนที่จบสาขาอื่นแล้วอยากมาเป็นครูก็มีสิทธิรับการอบรมและสอบเป็นครูได้
บางประเทศในบางสาขาวิชาเขาถึงกับกำหนดว่าถ้าบัณฑิตสอบใบประกอบวิชาชีพได้ไม่ถึง 25%
สถาบันนั้นจะต้องถูกยุบ
แต่วิชาชีพครูของบ้านเราบางมหาวิทยาลัยอาจสอบไม่ได้เลย แต่ก็ยังอยู่ในสนามได้
เพราะคุณเปิดหลักสูตร 5 ปี เรียกว่ามีคนมาเดินเข้าออกให้ครบ 5
ปีแล้วก็แจกตั๋วไปคนละใบ เพราะฉะนั้นการให้ใบประกอบวิชาชีพครูของไทยจึงไม่
make sense”
ข้อเสนอต่อประเด็นนี้คือ
สถาบันผลิตครูควรจะเข้าไปมีส่วนช่วยพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียน
นั่นคือให้สถาบันอุดมศึกษาวางแผนการผลิตครูร่วมกับจังหวัด
เพื่อให้จำนวนครูแต่ละสาขาสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ และนำเอากระบวนทัศน์ใหม่เข้าไปใช้กับการเรียนการสอนในห้องเรียน
พร้อมกันนั้นก็ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรฝึกหัดครูจากเดิมซึ่งการเรียน 4 ปีแรกไม่ได้เน้นภาคปฏิบัติ
ให้มีโอกาสร่วมปฏิบัติงานจริงกับครูในโรงเรียนตั้งแต่เข้าศึกษาชั้นปีที่ 1
“ถ้าระดมกำลังของสถาบันผลิตครูที่มีอยู่ลงไปที่ชั้นเรียนได้หมด
การศึกษาของเราจะไปได้เร็วกว่าประเทศรอบๆ ข้าง
ทั้งประเทศเรามีโรงเรียนประมาณสามหมื่นโรง เฉลี่ยแล้วให้แต่ละสถาบันฯ
ไปดูแลรับผิดชอบแห่งละ 200 โรง ทำไมจะทำไม่ได้ ผมเชื่อว่าแค่
5 ปีก็เห็นหน้าเห็นหลังแล้ว เรามีคนที่สามารถเข้าไปช่วยมากมายแต่เราพัฒนาไม่เป็น...
ถามว่าท้อไหมที่ไม่ค่อยเห็นการศึกษาไทยเปลี่ยนแปลง
ผมไม่ท้อเพราะรู้ว่าเราทำไม่ถูกทางเฉยๆ แต่ถ้าทำถูกทาง ทุกอย่างจะเปลี่ยน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น