1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง ปัญหาและแนวโน้มของ
ตอบ
หลักสูตร
ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร
1.
ในอดีตการจัดศึกษาไทยเป็นระบบศูนย์รวม
สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง
ซึ่งไม่สะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น
2.เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร
เช่น ครู ผู้บริหาร ผู้จัดทำหลักสูตร ไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร
มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะพัฒนาหลักสูตร
3. ขาดงบประมาณสนับสนุน เช่น
ขาดงบประมาณในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร
เงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น
4. การบริหารจัดการ เช่น
ขาดการประสานงานี่ดีระหว่างระหน่วยงานต่างๆ ขาดผู้เชี่ยนชาญที่มีความรู้
ความเข้าใจและทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ขาดการวางแผนด้านเวลา
บรรยากาศของโรงเรียนไม่ส่งเสริมการทำงาน
แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
1.
เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น
ไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีต เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงการ ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน
การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล
การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ
ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาต่อนักเรียน
2.สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ
เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น
มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า
มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา
จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนแบบทางไกล
ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่
3. เน้นการบูรณาการ แต่ยังคงเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาอยู่ทั้งด้านภาษา
การคิดคำนวณและด้านเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์
4.
เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน แต่ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
5.ให้ครูและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอย่างแท้จริง
เช่น การจัดอบรมสัมมนา.เรื่องการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาให้คำแนะนำช่วยเหลือในการพัฒนาหลักสูตร
6.เน้นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
7.
เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในดำรงชีวิตของผู้คนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี
2558 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว
มลายู อังกฤษ รวมไปถึงมีการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้นด้วย
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากวิจารณ์
พานิช. วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ตอบ
คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่
21
คำว่า
“ครู” เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด ครู คือ ผู้ที่ให้คำแนะนำ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับผู้เรียน
หรือนักเรียน/นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษา รร.เหล่า
สายวิทยาการและหน่วยจัดการศึกษาของ ทบ. ที่มีหน้าที่ให้การฝึก
ศึกษาเกี่ยวกับวิชาความรู้ทางทหารวิชาการ หลักการคิด
รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน
บทบาทหน้าที่ของ
ครู มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย
เพื่อให้ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย
มีความก้าวหน้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและรวดเร็วขึ้น ดังนั้น
ครูจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้พร้อมและพัฒนาตนเองให้ทันยุคที่เปลี่ยนไป
อีกทั้งต้องมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาด้านทักษะวิทยาการให้ทันสมัยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคนิค
วิธีการเรียน การสอนแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21
บทบาทของ e – teacher ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ส่วนที่
1 ครูทำหน้าที่ วางแผน ออกแบบ
ดำเนินการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและจัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอ
รวมทั้งจัดการประเมินผลอย่างชัดเจนได้มาตรฐาน
ส่วนที่ 2 ครูเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
ลักษณะของ e – teacher สรุปได้ 9
ประการ ดังนี้
1. Experience ครูควรสร้างสรรค์และเรียนรู้การใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีใหม่
ๆ เช่น Internet
2. Extended ครูควรค้นหาความรู้ตลอดเวลา
มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยเทคโนโลยี
3. Expanded ครูควรขยายผลความรู้
เพื่อให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชนโดยรวม
4. Exploration ครูควรค้นคว้าและเลือกเนื้อหาสาระ
เอกสารหลักฐานอ้างอิง ที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
5. Evaluation ครูควรเป็นนักประเมินที่ดี
มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินผล และให้ เหมาะสมกับรูปแบบการเรียน
เพราะไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีจะใช้ได้กับการเรียนทุกรูปแบบ
6. End – User ครูควรเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลายและสามารถเป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี
เช่น สามารถ Browse ไป Web Site ได้
เป็นต้น
7. Enabler ครูควรสามารถนำเทคโนโลยี
ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ มาใช้ในการสร้างบทเรียน สื่อ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียนมากขึ้น
8. Engagement เป็นลักษณะครูที่ให้ความร่วมมือ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
9. Efficient and Effective ครูที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล
ในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ผลิต ผู้กระจาย และผู้ใช้ความรู้จาก e
8 ข้อข้างต้น การปรับบทบาทและพัฒนาครูให้เป็น e – teacher อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
และเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ
ห้องเรียนสำหรับการศึกษาศตวรรษที่
21
สำหรับผู้เขียน
Biog เอง
โดยส่วนตัวได้มีโอกาสเป็นผู้สอนในโรงเรียนเล็กๆแห่งหนึ่ง ซึ่งในฐานะที่เราเป็นผู้สอน เราจะมองเห็นว่าโลกทุกวันนี้ก้าวไปไกลมาก
ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและการใช้ชีวิตในส่วนต่างๆ
ฉะนั้นเราต้องก้าวให้ทันกับทุกสถานการณ์ ให้ทันยุคสมัยที่มันกำลังเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ยิ่งเป็นผู้สอนยิ่งต้องรู้ให้ไว ต้องรู้ก่อนผู้เรียน
เพื่อที่เราจะได้นำสิ่งที่เรารู้ก่อนเหล่านั้นกลับไปสอนเขาได้
e –
teacher คือลักษณะ 9 ประการที่ครูใน ยุคศตวรรษที่ 21“
ควรพึงมี ” โดยส่วนตัว ถ้าให้เลือก
e –
teacher มา 1 ข้อ ที่ตัวเองด้อยและมีน้อยที่สุด ณ ตอนนี้ คงจะเลือกเป็น e ที่ข้อสุดท้าย คือ Efficient and Effective ให้เป็นข้อที่ตัวเองมีน้อยที่สุด
เหตุผลคงเนื่องจาก Efficient and Effective เป็น e ที่เป็นศูนย์รวมของ e ทั้ง 8 ข้อก่อนหน้า
มาเข้าไว้ด้วยกัน ถ้าจะให้อธิบายขยายความก็คงหมายถึงว่าผู้เขียนเอง
ยังขาดหรือยังชำนาญใน 8e เริ่มต้นไม่เพียงพอ เลยทำให้
ยังเป็นผู้สอนที่ไม่สมบูรณ์แบบตามหลักของ ครูในยุคศตวรรษที่ 21 นั่นเอง แต่เมื่อเรารู้ว่าเราขาดสิ่งไหน
เรายิ่งต้องพยายามเรียนรู้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะได้ก้าวสู่การเป็น e
– teacher ที่สมบูรณ์แบบต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น