ระดับที่ 4 อธิบาย NPU
N=Planning
3R7C
3R  ได้แก่
Reading (อ่านออก),
(W)Riting (เขียนได้)
(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
          ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น  “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker)และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้  แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ  ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)
ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C  และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต  แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง  ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์  และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์   ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL  คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน  เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู
นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึง ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ว่าสาระวิชามีความสำคัญแต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของนักเรียน โดยครูช่วยแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก ศิลปะคณิตศาสตร์การปกครองและหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ(Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจ ในเนื้อหา วิชาแกนหลัก และ สอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
1. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการท างานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และการสื่อสารและการร่วมมือ
2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ ปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อและ ความรู้ด้านเทคโนโลยี
3. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จนักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และ เป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และ ความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) และ ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility
เก่ง ดี มีสุข
 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10 มีเจตนารมณ์มุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็น "มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" หรือกล่าวอีกอย่างคือบุคคลที่มีความ "เก่ง ดี มีสุข" ซึ่งหากนี่คือเป้าหมายหลักของภาครัฐ ที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนไทยเติบโตอย่างสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านไอคิวและอีคิว ตรงตามเป้าหมายการศึกษา คือ ผู้เรียนเป็น คนดี คนเก่ง และ มีความสุข ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่สังคมไทยโดยสิ่งที่จะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็นบุคคลที่มีความเก่ง ดี และมีสุขในการศึกษาคือเก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพ ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต
ซึ่งหากจะให้ความหมาย เก่ง ดี มีสุข ในด้านการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปของผู้คนแล้วนั้นก็จะสามารให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไปได้อีก คือเก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้อื่น  ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม มีสุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของคนไทย 10 ประการ
1. มีระเบียบวินัย เมื่ออยู่ใต้ตาผู้คุม
2. มีความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม เพื่อหลอกลวงฝ่ายตรงข้ามจนกว่าจะถึงเวลาโกง
3. ขยัน ประหยัดและยึดมั่นในสัมมาชีพ ไม่ว่าอาชีพจะผิดกฏหมายขนาดใหนก็ต้องขยันเพื่อตัวเองไว้ก่อน
4. สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ พรรคพวกและลูกน้อง คนอื่นช่างมัน
5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าคิดวิพากษ์ วิจารณ์ และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ในฝ่ายตนเอง
6. กระตือรือร้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่กฏข้อใดมีช่องโหว่ก็ให้รีบเอาผลประโยชน์ใส่ตัว
7. มีพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เอาให้สู้ชนะผ่ายตรงข้ามเป็นพอ
8. มีความภาคภูมิและรู้จักทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรของชาติ ต้องตั้งขึ้นหิ้งห้ามแตะต้องจนระเหยไปทีละนิด
9. จะซื้อของเถื่อนหรืออะไรก็ได้ให้ตัวเองได้ประโยชน์ที่สุดส่วนผู้ผลิตสินค้าจริงๆช่างมัน มันล่มจมไม่เกียวกับเราสักหน่อย
10. มีความเสียสละ เมตา อารีย์ กตัญญูกตเวทิตา กล้าหาญและมีความรักสามัคคี ต้องรีบทำเป็นหน้าเป็นตาส่วนตัวตนจริงช่างมันเอาให้คนเชื่อถือก็พอ
    สำหรับตัวดิฉันแล้วคิดว่าดิฉันคนเราทุกคนต้องการที่จะเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขดิฉันคิดว่าตัวดิฉันก็ไม่ได้มีครบสมบรูณ์แบบทั้ง 3 อย่างดังที่กล่าวมา เก่ง สำหรับดิฉันคือการได้มายืน ณ จุดตรงนี้คือได้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาซึ่งดิฉันกำลังศึกษาในชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ในคะแนนเฉลี่ยรวม 3.50 ดี สำหรับฉันคือการเป็นคนดีของสังคมช่วยเหลือสังคมในบางคราวเมื่อมีโอกาส มีสุขคือการมีความสุขในการดำเนินชีวิตคิดทุกเรื่องในแง่บวก สำหรับคุณคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของคนไทย 10 ประการดิฉันคิดว่าตัวดิฉันเองมีครบทุกข้อแต่อาจจะยังเห็นไม่ชัดในบางข้อดิฉันคิดว่าจะทำการฝึกฝนและพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นคนไทยที่มีคุณลักษณะที่ดีของชาติต่อไป
P = Generating
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑  การดำรงชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน ง๑.๑ เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้  มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ ๒  การออกแบบและเทคโนโลยี มาตรฐาน ง ๒.๑  เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม สิ่งแวดล้อม  และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน    
สาระที่ ๓ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐาน ง ๓.๑  เข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล   และมีคุณธรรม          
สาระที่ ๔ การอาชีพ มาตรฐาน ง ๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
คุณภาพผู้เรียน
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
เข้าใจวิธีการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือถูกต้องตรงกับลักษณะงาน มีทักษะกระบวนการทำงาน มีลักษณะนิสัยการทำงาน ที่กระตือรือร้น ตรงเวลา ประหยัด  ปลอดภัย  สะอาด รอบคอบ และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เข้าใจประโยชน์ของสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  มีความคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างมีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะในการสร้างของเล่น  ของใช้อย่างง่าย  โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี ได้แก่กำหนดปัญหาหรือความต้องการ รวบรวมข้อมูล  ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง ๒ มิติ ลงมือสร้าง และประเมินผล  เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างถูกวิธี  เลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์และมีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ  
เข้าใจและมีทักษะการค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอน การนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ และวิธีดูแลรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
เข้าใจการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน มีทักษะการจัดการ ทักษะ การทำงานร่วมกัน ทำงานอย่างเป็นระบบและมีความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะนิสัยการทำงานที่ขยัน อดทน รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีมารยาท และมีจิตสำนึกในการใช้น้ำ ไฟฟ้าอย่างประหยัดและคุ้มค่า
เข้าใจความหมาย  วิวัฒนาการของเทคโนโลยี  และส่วนประกอบของระบบเทคโนโลยี มีความคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างหลากหลาย  นำความรู้และทักษะการสร้างชิ้นงานไปประยุกต์ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามความสนใจอย่างปลอดภัย โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี ได้แก่ กำหนดปัญหาหรือความต้องการ รวบรวมข้อมูล  ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง ๓ มิติ หรือแผนที่ความคิด  ลงมือสร้าง และประเมินผล  เลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ต่อชีวิต สังคม และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่
เข้าใจหลักการแก้ปัญหาเบื้องต้น มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล เก็บรักษา ข้อมูล สร้างภาพกราฟิก สร้างงานเอกสาร นำเสนอข้อมูล และสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึกและรับผิดชอบ
รู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพ รวมทั้งมีความรู้ ความสามารถและคุณธรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพ
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
เข้าใจกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน มีทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาและทักษะการจัดการ มีลักษณะนิสัยการทำงาน ที่เสียสละ มีคุณธรรม ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและถูกต้อง และมีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดและคุ้มค่า
เข้าใจกระบวนการเทคโนโลยีและระดับของเทคโนโลยี  มีความคิดสร้างสรรค์ ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ   สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยี  อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพฉายเพื่อนำไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือแบบจำลองความคิดและการรายงานผล  เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม สิ่งแวดล้อม และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
เข้าใจหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักการและวิธีแก้ปัญหา หรือการทำโครงงานด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะการค้นหาข้อมูล  และการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม การใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา สร้างชิ้นงานหรือโครงงานจากจินตนาการ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน
เข้าใจแนวทางการเลือกอาชีพ การมีเจตคติที่ดีต่อและเห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพ วิธีการหางานทำ คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการมีงานทำ วิเคราะห์แนวทางเข้าสู่อาชีพ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ และประสบการณ์ต่ออาชีพที่สนใจ และประเมินทางเลือก ในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้  ความถนัด และความสนใจ
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
เข้าใจวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะ การทำงานร่วมกัน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา และทักษะการแสวงหาความรู้ ทำงานอย่างมีคุณธรรม และมีจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ   สร้างและพัฒนา สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยโดยใช้ซอฟท์แวร์ช่วยในการออกแบบหรือนำเสนอผลงาน วิเคราะห์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม   สิ่งแวดล้อม  และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยวิธีการของเทคโนโลยีสะอาด
เข้าใจองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ  องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์  คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหา เขียนโปรแกรมภาษา พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์  ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์   ติดต่อสื่อสารและค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน และใช้คอมพิวเตอร์สร้างชิ้นงานหรือโครงงาน
เข้าใจแนวทางสู่อาชีพ  การเลือก และใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพ มีประสบการณ์ในอาชีพที่ถนัดและสนใจ   และมีคุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ
U=Generaating
หลักแกนกลาง 51 ทำให้เกิด 3 R 7 C
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา   
เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความคิดหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน การสังเกต การวิเคราะห์ การสร้างทางเลือก และการประเมินทางเลือก
ทักษะการจัดการ 
ความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงาน (ทำงานเป็นรายบุคคล) และจัดระบบคน (ทำงาน เป็นกลุ่ม)  เพื่อให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะกระบวนการทำงาน   
การลงมือทำงานด้วยตนเอง  โดยมุ่งเน้นการฝึกวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการทำงาน              เป็นรายบุคคล และการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้สามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายได้แก่ การวิเคราะห์งาน  การวางแผนในการทำงาน การปฏิบัติงาน  และการประเมินผลการทำงาน
ทักษะการทำงานร่วมกัน   
การทำงานเป็นกลุ่ม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียน           ได้ทำงานอย่างมีกระบวนการตามขั้นตอนการทำงาน และฝึกหลักการทำงานกลุ่ม โดยรู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีทักษะในการฟัง - พูด มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน สรุปผล  และนำเสนอรายงาน
ทักษะการแสวงหาความรู้  
วิธีการและกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาข้อมูลความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องหรือเนื้อหา  นั้น ๆ ได้แก่  การศึกษาค้นคว้า  การรวบรวม การสังเกต  การสำรวจ  และการบันทึก
           การถ่ายทอดความคิด  
เป็นการถ่ายทอดแนวคิดที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการให้เป็นรูปธรรมเพื่ออธิบายและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ ได้แก่ แผนที่ความคิด ภาพวาด 2 มิติ ภาพวาด 3 มิติ  ภาพฉายเพื่อการสร้างชิ้นงาน
การออกแบบ (ทางเทคโนโลยี) 
เป็นการลำดับความคิดหรือจินตนาการเป็นขั้นตอน นำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ 
การออกแบบและเทคโนโลยี
เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหา และสนองความต้องการอย่างสร้างสรรค์ โดยนำความรู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์
การเลือกใช้เทคโนโลยี 
เป็นการเลือกใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
เป็นความสามารถทางสมองมนุษย์ที่คิดได้กว้างไกล หลายแง่มุม หลายทิศทาง นำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งของ และแนวทางการแก้ปัญหาใหม่  ลักษณะการคิดอย่างสร้างสรรค์ มี 4ลักษณะ ประกอบด้วย
๑. ความคิดริเริ่ม (originality) คือ ลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิม ประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ที่ไม่ซ้ำกับของเดิม ไม่เคยปรากฏมาก่อน 
๒. ความคล่องในการคิด (fluency) คือ ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีปริมาณที่มากในเวลาจำกัด  เช่น  ให้ผู้เรียนวาดภาพต่อเติมรูปที่กำหนด ให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา 10 นาที
๓. ความยืดหยุ่นในการคิด (flexibility) คือ ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภท และหลายทิศทาง ดัดแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้  เช่น ให้ผู้เรียนบอกวิธีการนำขวดน้ำพลาสติกที่เหลือใช้ นำไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์ ได้บ้าง
๔. ความคิดละเอียดลออ (elaboration) คือ ความคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่ง หรือขยายความคิดหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น