บทที่ 4
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
มโนทัศน์(Concept)
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของหลักสูตรคือ
หลักสูตรความเป็นพลวัต และปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการและความเปลี่ยนแปลงของสังคมจากคุณสมบัติดังกล่าวการพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้น การจัดการศึกษาให้สนองความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งจำเป็น
และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
2. มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการ
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
สาระเนื้อหา(Content)
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรส่วนมากจะพัฒนามาจากแนวคิดของนักการศึกษาชาวต่างประเทศ
ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป
แต่กระบวนการและขั้นตอนควรประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ซึ่งประกอบด้วยปรัชญาการศึกษา
ผู้เรียน สังคม สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีและอื่นๆ
เพื่อนำมากำหนดจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้จัดลงในหลักสูตร
แล้วนำหลักสูตรไปทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อนำมาแก้ไขหลักสูตรที่สมบูรณ์และนำไปใช้
สุดท้ายทำการประเมินผลหลักสูตรและนำผลจากการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่อไป
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างเป็น วัฏจักร
1. ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นภารกิจที่สำคัญและกว้างขวาง
จึงมีผู้ให้ความหมายของคำว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นการพัฒนาหลักสูตรไว้หลายกรณี
เช่น
กู๊ด (Good, 1973: 157-158) ได้ให้ความเห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่ง เพื่อให้เหมาะกับโรงเรียนและระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีการสอนรวมทั้งประมวลผล ส่วนคำว่า การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่
เชย์เลอร์
และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 7) ให้คำจำกัดความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า
หมายถึงการจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตรอาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นสำหรับนักเรียนด้วย
ทาบา
(Taba,
1962 : 454) ได้กล่าวไว้ว่า
การพัฒนาหลักสูตร
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสูตรเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการวางจุดม่งหมาย
การจัดเนื้อหาวิชาการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลอื่นๆ
เพื่อให้บรรลุถึงจุดม่งหมายอันใหม่ที่วางไว้
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ตั้งจุดมุ่งหมายและวิธีการ
และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบทางด้านความคิดและความรู้สึกของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวความคิดพื้นฐานหรือรูปแบบของหลักสูตร
สงัด
อุทรานันท์ (2532: 30) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตรมีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1.การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือสมบูรณ์ขึ้น
และ 2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐาน
วิชัย
วงษ์ใหญ่ (2525: 10) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรคือการพยายามวางโครงการ
ที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำราแบบเรียน คู่มือครู
และสื่อการเรียนต่างๆ การวัดและการประเมินผลการใช้หลักสูตรการปรับปรุงแก้ไข
และการให้การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรและการสอนรวมทั้งการบริการและการบริหารหลักสูตร
ในการพัฒนาหลักสูตร เซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and
Alexander, 1974: 8-9) ชี้ให้เห็นว่า การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรนั้นมีงานที่ต้องทำสำคัญๆ อยู่ 3 ประการ คือ
1. การพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายเบื้องต้นที่สำคัญของหลักสูตรที่จัดทำนั้นว่ามีเป้าหมายเพื่ออะไร
ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ อย่างเด่นชัด
2. การเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและวัสดุประกอบการเรียนการสอน
การเลือกสรรเนื้อหาเพื่อสาระเพื่อการอ่าน การเขียน การทำแบบฝึกหัด
และหัวข้อสำหรับการอภิปรายตลอดจนกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นต้น
3. การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์และการจัดการเรียนการสอน
ตลอดทั้งการทดลองที่เป็นประโยชน์
เหมาะสมกับการเรียนการสอนแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
บางครั้งเราจะพบว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหาทางเลือกทางการเรียนการสอนที่เหมาะสม
หรือเป็นที่รวบรวมของทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ เข้าด้วยกัน
จนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้
และถ้าหากหลักสูตรมุ่งที่จะกำหนดสำหรับผู้เรียนหลายกลุ่มหลายประเภทโดยใช้วิธีการต่างๆและโอกาสต่างๆ
กันแล้วนักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆ
อย่างละเอียดและรอบคอบก่อนจะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง
และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ
เป็น วัฏจักร
2.หลักการพัฒนาหลักสูตร
จากความคิดเห็นของนักการศึกษาในเรื่องของความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนๆ
อย่างเป็นระบบระเบียบและเพื่อให้งานการพัฒนาหลักสูตรดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายของการพัฒนาอย่างแท้จริงเราจึงต้องคำนึงถึงหลักในการพัฒนาหลักสูตร
1.
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีผู้นำที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถในงานพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างดี
2. การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกระดับ
3.
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีการดำเนินการเป็นระบบระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป
เริ่มตั้งแต่การวางจุดมุ่งหมายในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจนถึงการประเมินผลการพัฒนาหลักสูตรในการดำเนินงานจะต้องคำนึงถึงจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงว่า
การพัฒนาหลักสูตรที่จุดใด
จะเป็นการพัฒนาส่วนย่อยหรือการพัฒนาทั้งระบบ และจุดดำเนินการอย่างไรในขั้นต่อไป
สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผู้มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดหลักสูตร
ครูผู้สอน หรือนักวิชาการทางด้านการศึกษาและบุคคลต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันพิจารณาอย่างรอบคอบ
และดำเนินการอย่างมีระเบียบระบบแบบแผนทีละขั้นตอน
4. การพัฒนาหลักสูตรจะต้องรวมถึงผลงานต่างๆ
ทางด้านหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหลักสูตร
เนื้อหาวิชา การทำการทดสอบหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้ หรือการจัดการเรียนการสอน
5.
การพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการฝึกฝนอบรมครูประจำการให้มีความเข้าใจในหลักสูตรใหม่
ความคิดใหม่ แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่
6. การพัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจ
และทัศนคติของผู้เรียนด้วย
3. ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่มีกระบวนการและขั้นตอนที่ซับซ้อน
และเป็นงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดหลักสูตร นักวิชาการ
นักพัฒนาหลักสูตร ให้มาทำงานร่วมกันกับบุคคลหลายฝ่าย
และต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายด้วยดี
การพัฒนาหลักสูตรจึงจะประสบความสำเร็จเมื่อการพัฒนาหลักสูตรสำเร็จลุล่วงตามจุดหมายแห่งการพัฒนาแล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์
ดังนี้
1. เป็นการพัฒนาการศึกษาของชาติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้
เพื่อให้การศึกษาของชาติเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับความเจริญของสังคมและของโลก
2.
เป็นการพัฒนาระบบการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก
โดยเฉพาะในยุคที่เรียกว่า โลกยุคโลกาภิวัตน์
3.
เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจและความสามรถในการพัฒนาการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนดังต่อไปนี้
3.1 มีความสามารถเปลี่ยนกับทักษะในด้านต่างๆ
3.2 มีความรู้เพียงพอที่จะศึกษาในระดับสูงขึ้นไป
3.3 ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
3.4 มีจิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
3.5 มีความเข้าใจและรักษาความงามตามธรรมชาติ
3.6 มีวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงาม
3.7 มีความสนใจและเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
3.8 มีความสนใจในการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม
3.9 มีความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตและในสังคมได้
ในปัจุบันการพัฒนาการศึกษาจึงเป็นหัวใจหลักที่จะเป็นแนวทางในการนำเยาวชนของชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมืองของเราให้ทัดเทียมกับประเทศที่เขามีกาารพัฒนาในเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความก้าวหน้าในหลายๆด้าน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงนับได้ว่าเป็นการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบการเมืองของสังคมไทยตลอดจนพัฒนาคุณภาพทางการเมืองของประชาชนอีกด้วยจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลียนแปลงไปอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดเป็นปัญหาสำคัญ
คือ การศึกษาเปลียนแปลงทันกับความต้องการของสังคมหรือไม่
คุณภาพของการศึกษาโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาจึงเป็นปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนให้ดีขึ้นให้อยู่ในระดับสูงต่อไปดังนั้นจึงทำให้มีการจัดคุณภาพของการศึกษาขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดค้องกับบความต้องการ
จึงมีการพัฒนาหลักสูตรของการเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและการนำไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปทำประโยชน์ในด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี
จึงมีการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาการ ทางด้านการศึกษาเพราะการพัฒนาหลักสูตรคือการเปลี่ยนแปลงหลักสุตรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ทั้งในด้านณ์
<ม่วง>เราจะสามารถสรุปหลักการพัฒนาหลักสูตรได้เป็น
2 นัยคือ
1. การปรับปรุงหลักสูตร
หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรบางส่วนที่กำลังใช้อยู่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
รวมทั้งการปรับปรุงสร้างสรรค์วัสดุหลักสูตรและวัสดุอื่นๆที่ผู้เรียนต้องใช้
การพัฒนาหลักสูตรในลักษณะนี้ไม่ทำให้แนวคิดพื้นฐานและรูปแบบของหลักสูตรเปลี่ยนไป
2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
หมายถึงการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยเปลี่ยนจากรูปแบบเก่าทั้งระบบ
ทุกองค์ประกอบของหลักสูตร บางครั้งอาจเรียกว่า การยกร่างหลักสูตร
การจัดทำหลักสูตรหรือการสร้างหลักสูตร
>>>ความคิดต่างๆที่ก่อนให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร
แนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
คุณลักษณะของผู้เรียนและเป้าหมายในแต่ละระดับการศึกษา
ประถมศึกษา : พัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม อ่านออกเขียนได้
คำนวณได้เข้าใจธรรมชาติ บำรุงรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน
วิเคราะห์เหตุผลและเสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว ไม่เอาเ
ปรียบผู้อื่นรักการอ่านและแสวงหาความรู้อยู่เสมอ
ทำงานร่วมกับคนอื่นได้รักการทำงานและทำงานเป็น รู้เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่บ้านสามารถปฎิบัติตนตามบทบาทหน้าที่
ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้านตลอดจนอนุลักษ์สิ่งแววดล้อม ,
ศาสนา , ศิลป , วัฒนธรรม
ในชุมชนรอบๆบ้าน
มัธยมศึกษาตอนต้น : แสวงหาแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้สังคม
มีความรู้และทักษะในวิชา สามัญเข้าใจและติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการต่างๆ
เสริมสร้างสุขภาพอนามัยส่วนตนและชุมชน
เสนอแนวทางเลือกหลากหลายในการแก้ปัญหาของชุมชนได้ ช่วยเหลือผู้อื่น
ปรับปรุงการปฎิบัติงานอยู่เสมอ
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้รักการทำงานและรู้กระบวนการจัดการ
เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมในชุมชนและสามารถเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนภูมิใจในการปฎิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของชุมชน
ตลอดจนอนุลักษ์สิ่งแวดล้อม , ศาสนา , ศิลป , วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนของตน
มัธยมศึกษาตอนปลาย : ลงมือทำประโยชน์ให้สังคมตามความสามารถของตน
มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญเฉพาะด้านและรอบรู้ทันคความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ส่งเสริมการอนามัยชุมชนและการเสริมสร้างสุขภาพ
วางแนวปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหาของสังคมได้ ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ใช้แนวทางและวิธิการใหม่ๆในการปฎิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้รักการทำงานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศและโลกมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนตลอดจนอนุลักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
,
ศาสนา , ศิลป ,วัฒนธรรมของประเทศ
>>>สาเหตุของการพัฒนาหลัก
หลักการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นต้องมีการดำเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป ซึ่งเริ่มจากการวางจุดมมุ่งหมายในการดำเนินงานนี้จะต้องคำนึงจึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ใดก่อนและดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรรวมถึงผลงานต่างๆทางด้านหลลักสูตรต่างๆที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหลักสูตรเดิมต้องคำนึงถึงการดำเนินงาน วิธีการต่างๆรวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะต้องมีการฝึกอบรมครูประจำการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่รวมทั้งทักษะในด้านต่างๆและต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของนักเรียนด้วย ต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านหลักสูตรทุกๆด้าน และต้องมีผู้นำที่ชำนาญมีความสามารถในหน้าที่การงานเป็นอย่างดี
ส่วนการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆ
การเรียนการสอนจะดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตร และวิธีใช้ด้วย การรู้หลักการจะช่วยให้ครูอ่านหลักสูตได้เข้าใจดียิ่งขึ้น หลักสูตรแบ่งเป็นแบบต่างๆได้ระดับต่างๆกัน คือ
- หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้างและบรรจุสาระที่จำเป็นต่อทุกคนในประเทศจะต้องเรียนรู้เหมือนกัน และเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไว้หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจึงเน้นเป็นวิชาบังคับให้ทุกคนต้องเรียน การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตร ดังนี้คือ ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์นี้มีหน้าที่ประสานงานในการปรับปรุงหลักสูตรทั้งระดับประถมและมัธยม ส่วนสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา
- หลักสูตรระดับท้องถิ่น เป็นการนำเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้โดยพิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่นเพิ่มเติมทั้งนี้เพื่อเน้นให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่น และลักษณะของผู้เรียน และเป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตจริง
- หลักสูตรระดับห้องเรียน สังคมจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับนี้ บุคคลที่สำคัญในเรื่องนี้คือ ครู ครูส่วนมากมักเข้าใจผิดคิดว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรแต่จริงแล้วครูนำเอาหลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เหมาะสมและให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ ครูที่สอนแต่ละคนในวิชาต่างๆก็จะให้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้งระบบ(โดยเป็นระบบย่อย) คือ รู้จุดมุ่งหมายของกาสอนเรื่องนั้นๆ วิชานั้นๆ ว่ามีความหมายความจำเป็นแก่ผู้เรียนอย่างไรทำไมจึงต้องสอน สามารถ ใช้วิธีสอน สื่อการสอน หนังสือเรียน แบบฝึกหัด สมารถวัดผลและประเมินผล เพื่อดูพฤติกรรมของนักเรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
การที่จะช่วยให้ครูเกิดความชำนาญ และมั่นใจในการใช้หรือพัฒนาหลักสูตรนั้นควรจะมีบริการช่วยครูให้คำปรึกษาหรือวิธีสอนในการจัดบริการหลักสูตรนี้ รัฐบาลควรจะลงทุนเสริมงบประมาณเพิ่มบุคลากรให้แก่หน่วยศึกษานิเทศก์ภาคและจัฃหวัดในการช่วยครูในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้การใช้หลักสูตรของครูเป็นไปโดยมีเหตุผล
<ม่วง>ขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการต่อเนื่องตั้งแต่การจัดทำหลักสูตรฉบับร่างทดลองใช้ จัดทำหลักสูตรฉบับจริง ดำเนินการใช้หาแนวทางที่ดีในการใช้ ปรับปรุงกระบวนการใช้ และปรับปรุงตัวหลักสูตรซึ่งอาจจะต้องหมุนเวียนกระทำซ้ำ ตั้งแต่ขั้นดำเนินการ การใช้อีกหลายครั้งหลายหนต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเปลี่ยนหลักสูตรทั้งหมดให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม งานพัฒนาหลักสูตร
แบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ 4 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ ข้อมูลที่สำคัญคือ ความจำเป็นและความต้องการของสังคมที่มีต่อการจัดการศึกษาประเภทนั้นๆและระดับนั้นๆ ปรัชญาการศึกษาก็ทำให้สามารถเตรียมการสร้างหลักสูตรได้เหมาะสม แนวคิดทางจิตวิทยาจะช่วยนำทางให้จัดหลักสูตรได้เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
ขั้นที่ 2 ขั้นจัดทำทำและวางแผนการใช้หลักสูตร จากการประมวลความรู้โดยใช้ข้อมูลจากขั้นที่แล้วผนวกกับความรู้ความคิดของผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชา นักทฤษฎีการสอนจะเป็นที่มาของหลักการจุดหมายและโครงสร้างเนื้อหาวิชารวมทั้งลักษณะของการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ องค์ประกอบของการใช้หลักสูตรอันได้แก่ ความเข้าใจและการยอมรับของผู้บริหารการศึกษา ความพร้อมของหน่วยงานสนับสนุนทั้งทางด้านการเงินจะช่วยทำให้ทราบสภาพความพร้อมและแก้ปัญหาได้ล่วงหน้า
ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร ในระหว่างที่หลักสูตรกำลังใช้อยู่และยังไม่ครบถ้วนตามกำหนดเวลา การประเมินผลการใช้หลักสูตรจะช่วยให้ทราบปัญหาและอุปสรรค์ของกระบวนการใช้หลักสูตร อันเป็นแนวทางให้รีบปรับปรุงแก้ไขกระบวนการใช้ให้สามารถบรรลุ
ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบผลของการใช้หลักสูตร การประเมินผลรวบยอดจะจัดทำเมื่อหลักสูตรใช้ไปครบถ้วนตามกำหนดเวลาซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลว่าหลักสูตรสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนตรงตามเป้าประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่ ควรจะแก้ไขจุดหมายของหลักสูตรอย่างไรหรือควรหาทางปรับปรุงกระบวนการใช้หลักสูตรหรือไม่
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
1. นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆนอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
- หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์
- หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ
- หน่วยนิเทศและประสานงาน
- หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
- หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจะรวมไปถึงการพัฒนาเนื้อหาวิชาที่จะต้องสอน และเนื้อหาวิชาในตำราที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนด้วย งานของการพัฒนาหลักสูตรอาจกล่าวได้ว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร ครูผู้สอน และนักวิชาการในการจัดวางเนื้อหาวิชา ร่วมกันทำการพัฒนาหลักสูตรโดยการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและจัดดำเนินไปด้วยดีและได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
การพัฒนาหลัดสูตรเป็นงานที่เห็นผลช้าเพราะต้องคอยดำเนินไปทีละขั้น แล้วจึงขยายผลงานกว้างขึ้นในการดำเนินงาน ย่อมจะเกิดผลประโยชน์แก่นักเรียนดังต่อไปนี้คือ
- มีความสามารถเกี่ยวกับทักษะในด้านต่าง ๆ เด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเรียนจบหลักสูตรมัธยมศึกษาแล้วมีความคิดริเริ่มเป็นอย่างดี
- มีความรู้พอที่จะศึกษาต่อในชั้นสูงได้ เด็กย่อมจะมีความรู้ความสามารถพอที่จะเรียนในชั้นสูงและมีความสนใจในด้านการเรียนพอสมควร ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นที่จะต้องเน้นให้เด็กได้มีความรู้เบื้องต้น
- ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม ในระหว่างที่เด็กศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนนั้นๆ กิจกรรมต่างๆ และการเรียนรู้ทางวิชาการภายในโรงเรียนจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองของชาติและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รู้จักประพฤติและปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
- มีจิตใจและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีการพัฒนาหลักสูตรมุ่งที่จะพัฒนาเด็กในด้านร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง มีความรู้และทักษะต่างๆ
- มีความเข้าใจและรักษาความงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในเมืองหลวงไม่คุ้นเคยกับธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นที่จะให้เด็กเรียนรู้เกียวกับธรรมชาติที่สวยงามเห็นคุณค่าของธรรมชาติ
- มีวัฒนธรรมและศิลธรรมที่ดีงาม โดยมัวัฒนธรรมที่ถูกต้อง รู้จักประพฤติในสิ่งที่ดีมีความรับผิดชอบ รู้จักกาละเทศะ และประพฤติในสิ่งที่สังคมยกย่องว่าดีงามควรกระทำ รวมทั้งมีจิตใจที่เมตตากรุณาต่อผู้อื่น
- มีความสนใจและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว การพัฒนาหลักสูตรจะเป็นการส่งเสริมความรู้และความสามารถโดยเฉพาะของเด็ก โดยการจัดโปรแกรมการเรียน การสอน และหลักสูตรให้สอดคล้องตามความต้องการและความสามารถของเด็กสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ผลดียิ่งขึ้น
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นต้องมีการดำเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป ซึ่งเริ่มจากการวางจุดมมุ่งหมายในการดำเนินงานนี้จะต้องคำนึงจึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ใดก่อนและดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรรวมถึงผลงานต่างๆทางด้านหลลักสูตรต่างๆที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหลักสูตรเดิมต้องคำนึงถึงการดำเนินงาน วิธีการต่างๆรวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะต้องมีการฝึกอบรมครูประจำการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่รวมทั้งทักษะในด้านต่างๆและต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของนักเรียนด้วย ต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านหลักสูตรทุกๆด้าน และต้องมีผู้นำที่ชำนาญมีความสามารถในหน้าที่การงานเป็นอย่างดี
ส่วนการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆ
การเรียนการสอนจะดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตร และวิธีใช้ด้วย การรู้หลักการจะช่วยให้ครูอ่านหลักสูตได้เข้าใจดียิ่งขึ้น หลักสูตรแบ่งเป็นแบบต่างๆได้ระดับต่างๆกัน คือ
- หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้างและบรรจุสาระที่จำเป็นต่อทุกคนในประเทศจะต้องเรียนรู้เหมือนกัน และเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไว้หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจึงเน้นเป็นวิชาบังคับให้ทุกคนต้องเรียน การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตร ดังนี้คือ ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์นี้มีหน้าที่ประสานงานในการปรับปรุงหลักสูตรทั้งระดับประถมและมัธยม ส่วนสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา
- หลักสูตรระดับท้องถิ่น เป็นการนำเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้โดยพิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่นเพิ่มเติมทั้งนี้เพื่อเน้นให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่น และลักษณะของผู้เรียน และเป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตจริง
- หลักสูตรระดับห้องเรียน สังคมจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับนี้ บุคคลที่สำคัญในเรื่องนี้คือ ครู ครูส่วนมากมักเข้าใจผิดคิดว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรแต่จริงแล้วครูนำเอาหลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เหมาะสมและให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ ครูที่สอนแต่ละคนในวิชาต่างๆก็จะให้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้งระบบ(โดยเป็นระบบย่อย) คือ รู้จุดมุ่งหมายของกาสอนเรื่องนั้นๆ วิชานั้นๆ ว่ามีความหมายความจำเป็นแก่ผู้เรียนอย่างไรทำไมจึงต้องสอน สามารถ ใช้วิธีสอน สื่อการสอน หนังสือเรียน แบบฝึกหัด สมารถวัดผลและประเมินผล เพื่อดูพฤติกรรมของนักเรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
การที่จะช่วยให้ครูเกิดความชำนาญ และมั่นใจในการใช้หรือพัฒนาหลักสูตรนั้นควรจะมีบริการช่วยครูให้คำปรึกษาหรือวิธีสอนในการจัดบริการหลักสูตรนี้ รัฐบาลควรจะลงทุนเสริมงบประมาณเพิ่มบุคลากรให้แก่หน่วยศึกษานิเทศก์ภาคและจัฃหวัดในการช่วยครูในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้การใช้หลักสูตรของครูเป็นไปโดยมีเหตุผล
<ม่วง>ขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการต่อเนื่องตั้งแต่การจัดทำหลักสูตรฉบับร่างทดลองใช้ จัดทำหลักสูตรฉบับจริง ดำเนินการใช้หาแนวทางที่ดีในการใช้ ปรับปรุงกระบวนการใช้ และปรับปรุงตัวหลักสูตรซึ่งอาจจะต้องหมุนเวียนกระทำซ้ำ ตั้งแต่ขั้นดำเนินการ การใช้อีกหลายครั้งหลายหนต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเปลี่ยนหลักสูตรทั้งหมดให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม งานพัฒนาหลักสูตร
แบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ 4 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ ข้อมูลที่สำคัญคือ ความจำเป็นและความต้องการของสังคมที่มีต่อการจัดการศึกษาประเภทนั้นๆและระดับนั้นๆ ปรัชญาการศึกษาก็ทำให้สามารถเตรียมการสร้างหลักสูตรได้เหมาะสม แนวคิดทางจิตวิทยาจะช่วยนำทางให้จัดหลักสูตรได้เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
ขั้นที่ 2 ขั้นจัดทำทำและวางแผนการใช้หลักสูตร จากการประมวลความรู้โดยใช้ข้อมูลจากขั้นที่แล้วผนวกกับความรู้ความคิดของผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชา นักทฤษฎีการสอนจะเป็นที่มาของหลักการจุดหมายและโครงสร้างเนื้อหาวิชารวมทั้งลักษณะของการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ องค์ประกอบของการใช้หลักสูตรอันได้แก่ ความเข้าใจและการยอมรับของผู้บริหารการศึกษา ความพร้อมของหน่วยงานสนับสนุนทั้งทางด้านการเงินจะช่วยทำให้ทราบสภาพความพร้อมและแก้ปัญหาได้ล่วงหน้า
ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร ในระหว่างที่หลักสูตรกำลังใช้อยู่และยังไม่ครบถ้วนตามกำหนดเวลา การประเมินผลการใช้หลักสูตรจะช่วยให้ทราบปัญหาและอุปสรรค์ของกระบวนการใช้หลักสูตร อันเป็นแนวทางให้รีบปรับปรุงแก้ไขกระบวนการใช้ให้สามารถบรรลุ
ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบผลของการใช้หลักสูตร การประเมินผลรวบยอดจะจัดทำเมื่อหลักสูตรใช้ไปครบถ้วนตามกำหนดเวลาซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลว่าหลักสูตรสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนตรงตามเป้าประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่ ควรจะแก้ไขจุดหมายของหลักสูตรอย่างไรหรือควรหาทางปรับปรุงกระบวนการใช้หลักสูตรหรือไม่
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
1. นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆนอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
- หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์
- หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ
- หน่วยนิเทศและประสานงาน
- หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
- หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจะรวมไปถึงการพัฒนาเนื้อหาวิชาที่จะต้องสอน และเนื้อหาวิชาในตำราที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนด้วย งานของการพัฒนาหลักสูตรอาจกล่าวได้ว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร ครูผู้สอน และนักวิชาการในการจัดวางเนื้อหาวิชา ร่วมกันทำการพัฒนาหลักสูตรโดยการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและจัดดำเนินไปด้วยดีและได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
การพัฒนาหลัดสูตรเป็นงานที่เห็นผลช้าเพราะต้องคอยดำเนินไปทีละขั้น แล้วจึงขยายผลงานกว้างขึ้นในการดำเนินงาน ย่อมจะเกิดผลประโยชน์แก่นักเรียนดังต่อไปนี้คือ
- มีความสามารถเกี่ยวกับทักษะในด้านต่าง ๆ เด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเรียนจบหลักสูตรมัธยมศึกษาแล้วมีความคิดริเริ่มเป็นอย่างดี
- มีความรู้พอที่จะศึกษาต่อในชั้นสูงได้ เด็กย่อมจะมีความรู้ความสามารถพอที่จะเรียนในชั้นสูงและมีความสนใจในด้านการเรียนพอสมควร ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นที่จะต้องเน้นให้เด็กได้มีความรู้เบื้องต้น
- ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม ในระหว่างที่เด็กศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนนั้นๆ กิจกรรมต่างๆ และการเรียนรู้ทางวิชาการภายในโรงเรียนจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองของชาติและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รู้จักประพฤติและปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
- มีจิตใจและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีการพัฒนาหลักสูตรมุ่งที่จะพัฒนาเด็กในด้านร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง มีความรู้และทักษะต่างๆ
- มีความเข้าใจและรักษาความงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในเมืองหลวงไม่คุ้นเคยกับธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นที่จะให้เด็กเรียนรู้เกียวกับธรรมชาติที่สวยงามเห็นคุณค่าของธรรมชาติ
- มีวัฒนธรรมและศิลธรรมที่ดีงาม โดยมัวัฒนธรรมที่ถูกต้อง รู้จักประพฤติในสิ่งที่ดีมีความรับผิดชอบ รู้จักกาละเทศะ และประพฤติในสิ่งที่สังคมยกย่องว่าดีงามควรกระทำ รวมทั้งมีจิตใจที่เมตตากรุณาต่อผู้อื่น
- มีความสนใจและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว การพัฒนาหลักสูตรจะเป็นการส่งเสริมความรู้และความสามารถโดยเฉพาะของเด็ก โดยการจัดโปรแกรมการเรียน การสอน และหลักสูตรให้สอดคล้องตามความต้องการและความสามารถของเด็กสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ผลดียิ่งขึ้น
4. กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร
ถ้าหลักสูตรได้รับการพิจารณาว่าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเกิดขึ้นในการวางแผนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาแล้ว
การพัฒนาหลักสูตรก็จะเป็นการพัฒนาแผนเพื่อจัดโปรแกรมการศึกษา
ซึ่งหมายถึงการให้นิยามและการเลือกจุดประสงค์ของการศึกษา
เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินโปรแกรมการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานปฏิบัติมิใช่งานทฤษฎี
เป็นความพยายามที่จะออกแบบระบบ เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
และระบบนี้จะต้องเป็นประโยชน์ที่แท้จริงปรากฏต่อสังคมและต่อมนุษย์ ซึ่งมีความมุ่งหมาย
มีความฝักใฝ่ในสิ่งที่ตนชอบมีกลไกการเคลื่อนไหว ดังนั้น
ขั้นตอนที่จำเป็นขั้นแรกในการพัฒนาหลักสูตร คือ
การตรวจและวิเคราะห์สถานการณ์สำคัญๆ
ซึ่งเป็นความมุ่งหมายปลายทางของการพัฒนาหลักสูตรคือ การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนและครู
ครูที่กลายเป็นผู้ที่มีความรู้มากขึ้น มีทักษะมากขึ้น และมีความไม่หยุดนิ่งมากขึ้นครูซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะเป็นผู้ที่ให้บริการแก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดต่อไปนี้จะกล่าวถึงการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร และแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร
แดเนียล แทนเนอร์ และลอร์เรล แทนเนอร์ (D. Tanner
& L. Tanner. 1995 : 385)
กล่าวว่าปัจจัยและอิทธิพลหลักสูตรมีปฏิสัมพันธ์จากปรัชญาสังคม พฤติกรรมมนุษย์
และความรู้ที่ยิ่งใหญ่กว้างขวางสิ่งเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อผู้เรียนโดยแปรสภาพมาเป็นเนื้อหาวิชาสำหรับการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการพัฒนาคนในสังคมใหม่
ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทัศน์ด้วยหลักสูตร
มาร์ช และวิลลิส (Marsh & Willis. 1995 : 278) ได้สรุปแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร ว่า
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแม้มีหลายแนวคิด
แต่เมื่อสรุปรวมความคิดแล้วล้วนอยู่บนพื้นฐานความต่อเนื่องเป็นอนุกรมโดยเริ่มจากแรงกดดันและผลกระทบจากปัจจัยบริบทและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสู่การปรับปรุงหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปสู่สถาบันเพื่อใช้จะได้รับแรงกดดันจากปัจจัยต่างๆ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรขึ้นมาอีกในระยะต่อไปต่อเนื่องดังภาพประกอบ 2
ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร เพื่อดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรมีแรงผลักดันและปัจจัยอิทธิพลหลายระดับตั้งแต่ระดับโรงเรียน
ระดับชุมชนครอบครัว สังคมประเทศชาติจนถึงระดับนานาชาติ
พลังผลักดันของสังคมเป็นตัวเร่งสำคัญในการวางแผนหลักสูตร (Parkay W.and Glen Hass, 2000 : 275)
องค์ประกอบในการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำหลักสูตรศึกษาวิเคราะห์สภาพของสังคมในปัจจุบัน
พร้อมทั้งวิเคราะห์หลักสูตรเดิมเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลพื้นฐานต่างๆ
ในการพัฒนาหลักสูตร ปรับปรุงแก้ไข แล้วกำหนดจุดประสงค์ใหม่
องค์ประกอบในแต่ล่ะส่วนจะมีความสัมพันธ์กันและเท่าเทียมกัน
จะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้ ได้แก่
1. การกำหนดความมุ่งหมายจะต้องชัดเจนว่าต้องให้ผู้เรียนในระดับนั้นๆ
มีคุณสมบัติอย่างไร เมื่อกำหนดความมุ่งหมายแล้วจะได้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ในการเรียนรู้ต่อไป
2. การวางแผนกำหนดโครงสร้างของหลักสูตร และการเลือกเนื้อหาวิชา
ในหลักสูตรจะต้องกำหนดโครงสร้างอะไรบ้าง เช่น จะต้องใช้เวลาศึกษานานเท่าไรจะต้องเรียนทั้งหมดกี่หน่วยการเรียนจึงจะจบหลักสูตรได้จะต้องเข้าเรียนกี่คาบต่อสัปดาห์ต่อภาคเรียนมีการวัดและประเมินผลอย่างไรระบบการให้คะแนนเป็นอย่างไร
มีวิชาใดบ้างที่จะต้องเรียนบังคับเท่าไร และเลือกเท่าไร และวิชาเหล่านั้นประกอบไปด้วยเนื้อหาอะไรมีประสบการณ์อะไรบ้าง
3. การทดลองใช้หลักสูตรหรือกระบวนการเรียนการสอนหรือวิธีการ และการจัดการเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องจัดหาและปรับปรุงกระบวนการสอน
การจัดชั้นเรียน การใช้อุปกรณ์การวัดผลและประเมินผล และการจัดกิจกรรมเสริมทางวิชาการ ตลอดจนการสอนซ่อมเสริมให้การนำหลักสูตรไปใช้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. การประเมินผลหลักสูตร
เป็นการประเมินคุณค่าของหลักสูตรว่ามีคุณภาพเป็นอย่างไรเป็นกระบวนการที่ใช้พิจารณาว่าความมุ่งหมายเป็นอย่างไรเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ตรงกับความมุ่งหมายหรือไม่การเรียนการสอนมีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้างและการประเมินผล
>>>กระบวนการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
แม้ว่าการพัฒนาหลักสูตรที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือหลักสูตรสถานศึกษา
ตามนัยแห่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มุ่งหวังจะให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเนื้อหาสาระในหลักสูตรขั้นพื้นฐานเพิ่มเติม
แต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ยังเน้นความสำคัญของเนื้อหาสาระ ประเภท สภาพปัญหาในชุมชน สังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
ชุมชน และสังคม ดังนั้นนอกจากภารกิจหลักของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบแล้ว
สถานศึกษายังต้องพิจารณาและจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องและสนองความต้องการของผู้เรียนที่ดำรงชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน
ตำบล ท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีความแตกต่างกัน
เพื่อให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรและจัดทำเนื้อหาสาระของหลักสูตรทั้งสองประเภทดังกล่าวข้างต้น
จึงขอเสนอรายละเอียด มิติ และมุมมองที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
จุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้
สถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรของตนเอง กล่าวคือ หลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์อื่นๆ
ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องเรียนเพิ่มเติมเป็นรายปีหรือรายภาค
จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียนและกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่น วัด
หน่วยงานและสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตร 2 ประการ ดังนี้
1.
หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ เปรียบเสมือนเป็นวิธีการสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้สูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคน
โดยควรสร้างความเข้มแข็ง ความสนใจและประสบการณ์ให้ผู้เรียน และพัฒนาความมั่นใจให้เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน
ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้สำคัญ ๆ ในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น
ได้ข้อมูลสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น
และมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม
สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด ความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันว่า สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม
หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน และช่วยพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ
สามารถพัฒนาสังคมให้เป็นธรรม มีความเสมอภาค ควรพัฒนาความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น
ระดับชาติและระดับโลก
หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล
เป็นอิสระและเข้าใจในความรับผิดชอบของตน
จุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาทั้งสองประการข้างต้นนี้
เป็นเพียงกรอบหรือแนวทางที่จะให้สถานศึกษาได้นำไปพิจารณา
และกำหนดเป็นรายละเอียดจุดหมายในแต่ละสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่บ้าน ตำบล
และชุมชน ที่มีสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และค่านิยมที่แตกต่างกัน
5. รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เนื่องจากรูปแบบหลักสูตรเปรียบเสมือนพิมพ์เขียว
(Blue Print) ที่ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรนักวิชาการจึงมีความสำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัยครั้งนี้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญมีดังนี้
5.1 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจากแนวคิดต่างประเทศ
5.1.1 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์
(Ralph W. Tyler)
ไทเลอร์ได้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการสอนซึ่งก็คือหลักการและเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตร(Tyler
Rationale) ว่าในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ต้องตอบคำถามพื้นฐานที่สำคัญ 4 ประการ คือ (Tyler, 1949: 3)
1. จุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Educational Purposes) อะไรบ้างที่โรงเรียนต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
2. ประสบการณ์ทางการศึกษา (Educational Experiences) อะไรบ้างที่โรงเรียนจะต้องจัดให้ เพื่อช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
3. จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไรจึงจะทำให้สอนมีประสิทธิภาพ
4.
ประเมินประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนอย่างไรจึงจะทราบได้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา
ไทเลอร์ได้วางรูปแบบโครงสร้างของหลักสูตรโดยใช้วิธีการและเป้าหมายปลายทาง
(Means and ends approsch) ดังนี้ (วิชัย วงษ์ใหญ่,
2537: 10-11)
ในการกำหนดจุดมุ่งหมายนั้น
ในขั้นแรกต้องกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายชั่วคราวก่อนโดยต้องนำบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น บริบททางด้านสังคมด้วยการนำสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอย่างไรและมีการศึกษาตัวผู้เรียน
เช่น ความต้องการ ความสนใจฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว เป็นต้น
นอกจากนั้นยังต้องศึกษาแนวคิดของนักวิชาการ (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2537 : 12)
ความเชื่อค่านิยมของสังคมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนเพราะการศึกษาสังคมค่านิยมขนบประเพณีวัฒนธรรมจะให้คำตอบว่าสังคมต้องการจัดการศึกษาเพื่ออะไรและจะจัดการศึกษาสำหรับใครสิ่งเหล่านี้ช่วยให้แสวงหาคำตอบที่ชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายหรือทิศทางของการศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรและการเสนอของไทเลอร์
มีลักษณะสำคัญคือ (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2537 : 12-14)
1. จุดมุ่งหมายเป็นตัวกำหนดควบคุมการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนดังนั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายจึงมี 2ขั้นตอน คือ
ตอนแรกเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายชั่วคราวแล้วจึงหาวิธีการและเกณฑ์จากทฤษฎีการเรียนรู้ปรัชญาการศึกษาและปรัชญาสังคมมากลั่นกรองจุดมุ่งหมายชั่วคราวเพื่อให้ได้มาเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของหลักสูตรพื้นฐานทางจิตวิทยาและปรัชญาในการพัฒนาหลักสูตรจะเข้ามามีบทบาทและช่วยในการตรวจสอบเพื่อหาความชัดเจนของการกำหนดจุดมุ่งหมายขั้นนี้เพื่อตอบคำถามและหาความชัดเจนว่าการจัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองใคร
ตอบสนองผู้เรียนหรือสังคม
2.
การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนที่คาดหวังว่าจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนและส่วนเสริมหลักสูตรนั้นมีอะไร
ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ไทเลอร์ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ดังนี้
2.1 ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและการเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
2.2
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นทำให้ผู้เรียนพอใจปฏิบัติการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
2.3 กิจกรรมและประสบการณ์นั้นอยู่ในข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
2.4 กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆ
ด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
2.5
กิจกรรมและประสบการณ์เรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตรวจสอบจุดมุ่งหมายหลายๆ ข้อได้
3.
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในด้านเวลาต่อเวลา
และเนื้อหาต่อเนื้อหา เรียกว่าความสัมพันธ์แบบแนวตั้ง
(Vertical) กับแนวนอน (Horizontal)
ซึ่งมีเกณฑ์ในการจัดดังนี้
3.1 ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึงความสัมพันธ์ในแนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตรจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้นไป
เช่น ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ
และต่อเนื่องกัน
3.2 การจัดช่วงลำดับ(Sequence) หมายถึงความสัมพันธ์แนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตรจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนไปสู่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง
หรือจากสิ่งที่มีความง่ายไปสู่ที่มีความยาก ดังนั้น การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลังเพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3.3 บูรณาการ (Integration) หมายถึง
ความสัมพันธ์กันในแนวนอนขององค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตร
จากหัวข้อเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชา
หรือจากรายวิชาหนึ่งไปยังรายวิชาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน
เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนที่ได้ประสบการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ
กัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
4.
การประเมินผลเพื่อตรวจสอบดูว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายตามที่กำหนดไว้หรือไม่
สมควรมีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง พิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
4.1 กำหนดจุดมุ่งหมายที่จะวัดและพฤติกรรมที่คาดหวัง
4.2 วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
4.3
ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
4.4 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity)
2. ความเชื่อมั่นได้ (Reliability)
3. ความเที่ยงตรง (Validity)
4. ความถูกต้อง (Accuracy)
4.5
การพิจารณาผลประเมินให้เป็นประโยชน์เพื่ออธิบายผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การอธิบายถึงส่วนดีของหลักสูตรหรือสิ่งที่ต้องปรับแก้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
5.1.2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวความคิดของทาบา (Taba)
แนวคิดของทาบาในการพัฒนาหลักสูตรใช้วีแบบรากหญ้า
(Grass-roots approach)
มีความเชื่อว่าหลักสูตรควรได้รับการออกแบบโดยครูผู้สอนมากกว่าพัฒนาจากองค์กรที่อยู่ในระดับสูงขึ้น
ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ (Taba, 1962 :456-459)
1. วิเคราะห์ความต้องการ (Diagnosis of needs)
ใช้วิธีสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นของผู้เรียนและของสังคม
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย (Formulation of objectives) ด้วยข้อมูลที่ได้จาการวิเคราะห์ความต้องการ
3. คัดเลือกเนื้อหาสาระ (Selection of content)
เมื่อกำหนดจุดมุ่งหมายแล้วก็ต้องเลือกเนื้อหาสาระ ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
และต้องคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียนด้วย
4. การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ (Organization of content) เนื้อหาสาระที่รวบรวมต้องคำนึงถึงความยากง่ายและความต่อเนื่อง
รวมทั้งจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจของผู้เรียน
5. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (Selection of learning
experiences) การคัดเลือกประสบการณ์เรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชา
6. การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ (Organization of
leaning experiences)
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต่อเนื่องของเนื้อหาสาระ
7. กำหนดวิธีวัดและประเมินผล (Determination of what
to evaluate and the ways and means of doing it)
มีการประเมินเพื่อตรวจสอบว่าประสบการณ์การเรียนที่จัดให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
และกำหนดวิธีการประเมินรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินด้วย
จากการพัฒนาหลักสูตรแนวคิดของทาบาจะเริ่มที่จุดใดจุดหนึ่งก่อนก็ได้
แต่เมื่อเริ่มที่ จุดใดแล้วจะต้องทำการศึกษาให้ครบกระบวนการทั้ง 7 ขั้นตอน จุดเด่นในแนวคิดของทาบาคือเรื่องยุทธวิธีการสอน (Teaching
Strategies) และประสบการณ์การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึง
มีอยู่ 2 ประการ คือ (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2537 : 15-16)
1. ยุทธวิธีการสอนและประสบการณ์เรียนรู้ เป็นเครื่องกำหนดสถานการณ์เงื่อนไขการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นผลผลิต
ดังนั้น การจัดรูปแบบของการเรียนการสอนต้องแสดงลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้ด้วย
2.
ยุทธวิธีการสอนเป็นสิ่งที่หลอมรวมหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาไว้ด้วยกันการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับยุทธวิธีการสอนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
คือ
2.1 การจัดเนื้อหา ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ารายวิชานั้นๆ
มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบใดกว้างหรือลึกมากน้อยเพียงใด
และได้เรียงลำดับเนื้อหาวิชาไว้อย่างไร การกำหนดโครงสร้างได้กระทำชัดเจนสอดคล้องกับโครงการในระดับใดเพราะแต่ละระดับมีจุดประสงค์เนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
2.2 หน่วยการเรียน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่บ่งชี้ถึงการวัดและประเมินได้ชัดเจน
มีรายละเอียดและมีความยืดหยุ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนและทำกิจกรรมตามความต้องการและความสนใจ การตรวจสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในการพัฒนากระบวนการเรียนได้เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อนำไปสู่ข้อค้นพบ ข้อสรุปที่เป็นหลักการที่มุ่งเน้นความคาดหวังเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน และการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5.1.3 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของเซย์เลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (J. Galen Saylor, William M.Alexander and Arthur J. Lewis)
แนวคิดของเซย์เลอร์
อเล็กซานเดอร์ และเลวิส ประกอบด้วย กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ (Saylor and Alexander,1974 : 265;
Saylor,Alexander and Lewis, 1981: 181)
1. เป้าหมาย วัตถุประสงค์
และความครอบคลุม (Goals, Objective and domains)
หลักสูตรต้องประกอบด้วยเป้าหมายวัตถุประสงค์
และในแต่ละเป้าหมายควรบ่งบอกถึงความครอบคลุมของหลักสูตร (Curriculum Domain) วัตถุประสงค์ พัฒนาการส่วนบุคคล มนุษย์สัมพันธ์
ทักษะการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง และความชำนาญเฉพาะด้าน
ซึ่งกำหนดจากความเป็นโลกาภิวัฒน์ ความต้องการของสังคมที่อยู่อาศัยกฎหมาย ข้อบังคับ
เป็นต้น
2. การออกแบหลักสูตร (Curriculum Design)
คือการวางแผนเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกและจัดเนื้อหาสาระและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงปรัชญา ความต้องการของสังคมและผู้เรียนมาพิจารณาด้วย
3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum implementation) ครูต้องเป็นผู้วางแผนและวางแผนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ (Instructional
Plans) รวมทั้งการจัดทำสื่อการเรียนการสอน เช่น ตำรา แบบเรียน
วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ครูตั้งเป้าหมายไว้
4. การประเมินผลหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
ครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันตัดสินใจเพื่อเลือกวิธีการประเมินผลที่สามารถประเมินได้ว่า
หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นได้ผลตามความมุ่งหมายการประเมินหลักสูตรจะเป็นข้อมูลสำคัญที่บอกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ว่าควรจะปรับปรุงหลักสูตรในจุดใด
เพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการใช้หลักสูตรในอนาคต
5.1.4 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของโอลิวา (Oliva) (Oliva.1982 : 172)
1. จุดมุ่งหมายของการศึกษา (Aims of Education)
และหลักการปรัชญาและจิตวิทยาจากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของสังคมและผู้เรียน
2. วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของชุมชนที่สถานศึกษานั้นๆ ตั้งอยู่
ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในชุมชน และเนื้อหาวิชาที่จำเป็นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3. เป้าหมายของหลักสูตร (Curriculum Goals)
โดยอาศัยข้อมูลจากขั้น 1 และ 2
4. จุดประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Objectives) โดยอาศัยข้อมูลจากขั้นที่ 1, 2 และ 3 แตกต่างจากขั้นที่ 3คือมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้หลักสูตร
และการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
5. รวบรวมและนำไปใช้ (Organization and Implementation of
the Curriculum) เป็นขั้นของการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
6. กำหนดเป้าหมายของการสอน (Instructional Goals) ของแต่ละระดับ
7. กำหนดจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน (Instructional
Objective) ใน แต่ละวิชา
8. เลือกยุทธวิธีในการสอน (Selection of Strategies) เป็นขั้นที่ผู้เรียนเลือกยุทธวิธีที่เหมาะสมกับผู้เรียน
9. เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนที่นำไปสอนจริงคือ 9A (Preliminary selective of evaluation techniques)
และกำหนดวิธีประเมินผลหลังจากกิจกรรมการเรียนการสอนสิ้นสุดคือ 9B (Find selection of evaluation techniques)
10. นำยุทธวิธีไปใช้ปฏิบัติจริง(Implementation of
Strategies) เป็นขั้นของการใช้วิธีการที่กำหนดในขั้นที่ 8
11. ประเมินผลจากการเรียนการสอน (Evaluation of Instruction) เป็นขั้นที่เมื่อการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้น
ก็มีการประเมินผลตามที่ได้เลือกหรือกำหนดวิธีการประเมิน ขั้นที่ 9
12. ประเมินหลักสูตร (Evaluation of curriculum) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้วงจรครบถ้วน
การประเมินผลที่มิใช่ประเมินผู้เรียนและผู้สอน แต่เป็นการประเมินหลักสูตรที่จัดทำขึ้น
5.1.5 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของมัลคอล์ม สกิลเบ็ก
สกิลเบ็ก (Sklibeck,1984 : 230-239; สิทธิชัย เทวธีระรัตน์,
2543 : 43)
ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบของหลักสูตรในลักษณะที่เป็นพลวัต จุดเด่นคือ
การวิเคราะห์สถานการณ์ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตร ทั้งนี้
สกิลเบ็กเชื่อว่า สถานการณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดความแตกต่างของหลักสูตร
เพราะไม่สามารถคาดเหตุการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นภายหน้าได้ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ไว้ก่อนมีการสำรวจสถานการณ์จริงจึงขาดความน่าเชื่อถือ
ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรโดยโรงเรียนเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรเอง (School-based curriculum development หรือ SBCD) เป็นวิธีที่สามารถนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับความเป็นจริงได้การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นปรากฏการณ์ของสังคมแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันทำให้ไม่สามารถเจาะจงใช้รูปแบบหลักสูตรที่เป็นแบบเดียวกันได้
ดังนั้นรูปแบบหลักสูตรจึงเป็นพลวัต แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของสกิลเบ็ก ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ (Analyze the situation) วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหลักสูตร ซึ่งส่งผลถึงโรงเรียนให้มีการพัฒนาหลักสูตรให้นำไปปฏิบัติได้จริงและบังเกิดผลให้นักเรียนได้เรียนรู้ ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน
ก. ปัจจัยภายนอก ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ความคาดหวังของผู้ปกครองความต้องการของนายจ้าง ความต้องการของสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก และอุดมคติของสังคม
2. การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาและหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย
นโยบายการศึกษา ระบบการสอน อำนาจในการตัดสินใจของท้องถิ่น
ผู้จบการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม เป็นต้น
3. การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาวิชา
การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัย
4. การเพิ่มศักยภาพของครูอาจารย์
ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคสมัย
5. การนำทรัพยากรใช้ในโรงเรียเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
ข. ปัจจัยภายใน ได้แก่
1. เจตคติ ความสามารถและความต้องการทางการศึกษาของนักเรียน
2. ค่านิยม เจตคติ ทักษะ ประสบการณ์ของครู
ที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยของการจัดการเรียนการสอน
3. ความคาดหวังของโรงเรียน โครงสร้างการบริหารงาน
การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา วิธีจัดประสบการณ์ให้นักเรียน
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนบรรทัดฐานทางสังคม
การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์
4. วัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากร งบประมาณ แผนงาน
และศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
5. การยอมรับและการรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำหลักสูตรมาใช้
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์ (Define Objectives) การวิเคราะห์สถานการณ์ในขั้นตอนที่ 1 เพื่อนำไปกำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์แปลงเปลี่ยนไปตามปัจจัยภายนอกและภายใน สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์ที่เป็นอยู่ สอดคล้องกับค่านิยม ทิศทางที่กำหนด รวมทั้งผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการจัดการศึกษา การกำหนดวัตถุประสงค์ควรเขียนในลักษณะการเรียนรู้ที่คาดหวังจากนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ทั่วไปกับวัตถุประสงค์เฉพาะ ในการกำหนดวัตถุประสงค์ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และนักวิชาการ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบการจัดการเรียนการสอน (Design the teaching learning programme) เป็นการออกแบบการเรียนการสอนต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา โรงเรียนต้องตอบคำถามพื้นฐาน เช่น จะสอนอะไร และนักเรียนจะเรียนรู้อะไรซึ่งต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรายวิชาที่นำมาจัดการเรียนการสอน การกำหนดแบบแผนการสอนและการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้
3.1 ข้อมูลพื้นฐานหรือทิศทางของหลักสูตรที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง
เป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกตามความสนใจ
3.2 การจัดกลุ่มและการบูรณาการของสาระวิชาต่างๆ
3.3 การจัดกลุ่มนักเรียน
ซึ่งอาจจัดตามความสนใจของนักเรียน
จัดให้เด็กเรียนเก่งเรียนด้วยกันและไม่เก่งเรียนด้วยกัน
หรือจัดให้เด็กที่มีความสนใจต่างกันเรียนด้วยกัน
3.4 ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ
กับเป้าหมายของหลักสูตร
3.5 การเรียงลำดับของเนื้อหาการสอน
3.6 สถานที่ ทรัพยากร
อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
3.7 ออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน
3.8 แต่งตั้งคณะทำงาน
3.9 จัดทำตารางและกิจกรรมในการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้ (Interpret and implement the programme) การวางแผนและการออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้หลักสูตรนั้นนำไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งดูจากผลการประเมินผลลัพธ์สุดท้ายว่าการเรียนการสอนเป็นไปตามความต้องการหรือไม่ มีแผนงานใดที่มีความพร้อมมากที่สุด และรับรองคุณภาพได้ดังนั้น ครูต้องมีจิตสำนึกในความเป็นมืออาชีพที่ต้องติดตามควบคุม ดูแล และประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่ออกแบบและดำเนินการอยู่มีประโยชน์คุ้มค่า การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าภาค อาจไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากปัญหาการขาดการเอาใจใส่จากครู ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นการบริหารหลักสูตรที่ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ได้จริงๆ ต้องดำเนินการโดยผู้ที่อยู่ในโรงเรียนซึ่งก็คือครูนั่นเองครูเป็นผู้ที่ใกล้ชิดและทราบข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจ ความต้องการของนักเรียนเป็นอย่างดีดังนั้น การปฏิบัติเพื่อพัฒนาหลักสูตรต้องเหมาะสมและต้องสอดคล้องกับศักยภาพของครู การนำไปใช้ขึ้นอยู่กับครู ครูต้องเป็นบุคลากรหลักในการออกแบบและการนำไปใช้ นั่นคือ ครูต้องเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรดัวยตนเอง ดีกว่ารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่บุคคลอื่นเป็นผู้จัดทำให้
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร (Assess and evaluate) การประเมินการเรียนรู้ (Assessment) เป็นการตัดสินคุณค่าในศักยภาพการเรียนรู้และการปฏิบัติของผู้เรียนรู้ ส่วนการประเมินผล (Evaluation) หมายถึงการรวบรวมหลักฐานเพื่อนำมาตัดสินคุณค่าเกี่ยวกับหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การออกแบบ การนำไปใช้ รวมทั้งผลการปฏิบัติหรือผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งการประเมินการปฏิบัติของผู้เรียนเป็นการกำหนดเกณฑ์ที่ผู้เรียนต้องบรรลุ เช่น การกำหนดชิ้นงาน การสังเกต การบันทึกการทำงาน การสอน การรายงานผล การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องมีแนวทางที่หลากหลายเพื่อให้ครอบคลุม รวมทั้งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องทุกครั้ง ดังนั้น การประเมินจึงไม่ใช่กิจกรรมที่กระทำรวบยอดครั้งเดียว แต่เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งผู้ออกแบบหลักสูตรด้วยการกระทำเช่นนี้เป็นวงจรต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงผู้เรียนและหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น
5.1.6 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวอล์คเกอร์
(Decker Walker)
เดคเกอร์ วอล์คเกอร์ (Decker Walker) ปฏิเสธแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรด้วยการกำหนดสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลักสูตรด้วยการอธิบายเชิงเหตุผลโดยปราศจากการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงมาก่อน
วิธีการของวอล์คเกอร์เป็นวิธีการศึกษาแบบประจักษ์นิยม (Epiricalism) หรือเป็นวิธีการศึกษาแบบธรรมชาติ (Naturalistic model) ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงจากปรากฏการณ์ทางสังคม
และผ่านกระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างเหมาะสมก่อนการตัดสินใจออกแบบหลักสูตร
ส่วนผลการพิจารณาจะออกมาเช่นไรก็ยอมรับตามสภาพการณ์ซึ่งเป็นวิธีคล้ายกับเติบโตของสิ่งต่างๆ
ในธรรมชาติ (Marsh , 1986 , curricula ; An Analytical Introduction : 53-57)
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวอล์คเกอร์
แบ่งเป็นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรออกเป็น 3 ขั้นตอน
คือ (Walker , 1971 , curriculum Theory Network : 58-59)
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งได้มาจากการศึกษาเชิงประจักษ์ที่ได้จากมุมมองต่างๆ ความเชื่อ ค่านิยม ทฤษฎี แนวคิด เป้าหมาย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาสร้างหลักสูตรต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ มีความจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ไว้ล่วงหน้าซึ่งเป็นประโยชน์ในการดำเนินการขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาไตร่ตรอง (Deliberates) ซึ่งเป็นการนำข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาต่างเข้ามาสู่กระบวนการปรึกษาหรือการอภิปราย การวิพากษ์วิจารณ์เพื่อพิจารณาทางเลือกต่างๆก่อนที่จะออกแบบหลักสูตร โดยการถ่วงน้ำหนักทางเลือกต่างๆ (eight alternatives) ในทุกๆ ด้านอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในเชิงต้นทุน ค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับมา การพิจารณาทางเลือกนี้จะก่อให้เกิดความไม่แน่ใจว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ดังนั้น จึงสามารถที่จะยอมรับหรือปฏิเสธได้อย่างเต็มที่ก่อนการกำหนดทิศทางที่ถูกต้องในการออกแบบหลักสูตรต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) เป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับสาระสำคัญของหลักสูตรก่อน โดยคำนึงถึงองค์ประกอบอย่างรอบด้านของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งไม่กำหนดรูปแบบหลักสูตรไว้ล่วงหน้า แต่ใช้ในการแสวงหาความเหมาะสมที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสถานการณ์ เป็นการเลือกที่ผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว และมีความชัดเจนในองค์ประกอบต่างๆ โดยสามารถชี้เฉพาะเจาะจงความต้องการหลักสูตรของชุมชนได้ชัดเจนมากยิ่งกว่า รูปแบบของหลักสูตรเชิงวัตถุประสงค์การออกแบบหลักสูตรเชิงพลวัตเป็นพรรณนาความเชื่อมโยงจากข้อมูลพื้นฐาน โดยนำตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาสู่กระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ (Deliberations) ซึ่งเป็นการเลือกวิธีที่ดีที่สุดจากนั้นเริ่มก้าวไปสู่จุดสุดท้าย คือ การออกแบบหลักสูตรที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง
5.2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทย
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานเท่าที่ผ่านมาเป็นหน้าที่ของหน่วยงานระดับนโยบาย
โดยกรมวิชาการ เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรระดับชาติ
รวมทั้งเป็นผู้จัดเนื้อหาสาระแบบเรียน สื่อรายวิชาต่างๆ
ให้โรงเรียนใช้เหมือนกันทั่วประเทศ แม้ว่าในคู่มือหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช2533)
เปิดโอกาสให้โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนได้เอง
แต่ก็มีโรงเรียนจำนวนไม่น้อยมากคือประมาณร้อยละ 27 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2543 : 296) ที่มีหลักสูตรสอดคล้องกับท้องถิ่นและผู้เรียน ดังนั้น
การศึกษารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ในบริบทของประเทศจากแนวคิดของหน่วยงานต่างๆ
ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบ รวมทั้งแนวคิดของนักวิชาการ
อันนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นรูปแบบสำหรับการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนในครั้งนี้
มีดังต่อไปนี้
5.2.1 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมวิชาการ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2539 : 2-35)
ได้กำหนดให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรเองได้ภายใต้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งมีรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร 4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.
การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
2. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดของเนื้อหา
3. การพัฒนาหลักสูตรโดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
4. การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่
1. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
โดยศึกษาจากคำอธิบายหรือคำอธิบายวิชาที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
1.1 กิจกรรม ได้แก่
ส่วนที่ระบุถึงแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ต้องจัดให้แก่ผู้เรียนสังเกตได้จากคำว่า
ศึกษาค้นคว้า ทดลอง สำรวจ ฝึก ปฏิบัติ วิเคราะห์ อภิปราย ฯลฯ
1.2 เนื้อหา ได้แก่ ส่วนที่ระบุถึงหัวข้อหรือขอบข่ายของเนื้อหาที่จะนำมาให้ผู้เรียนหรือฝึกเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์
1.3 จุดประสงค์ ได้แก่
ส่วนที่ระบุถึงพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือฝึกทักษะตามที่ได้ระบุไปแล้วในข้อ 1.1 และ 1.2 พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นนี้ประกอบด้วนส่วนที่เป็นความรู้ ทักษะ
เจตคติ และกระบวนการ
ผลที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์
คำอธิบาย หรือคำอธิบายรายวิชานี้
ช่วยทำให้ผู้สอนมองเห็นภาพงานสอนของเนื้อหาหรือรายวิชาดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น
ว่าต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิธีใด
มีขอบข่ายเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้หรือฝึกทักษะอะไรบ้าง
และประการสุดท้ายต้องการให้ผู้เรียนมีหรือเกิดพฤติกรรมทั้งในด้านความรู้ ทักษะ
เจตคติ รวมทั้งการจัดการอะไรบ้าง กิจกรรมต่างๆ ที่วิเคราะห์ออกมานี้
หลักสูตรกำหนดไว้กว้างๆ เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ต้องพิจารณาว่ากิจกรรมดังกล่าวควรจัดโดยวิธีใด
จัดอย่างไรให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
เนื้อหาและตัวผู้เรียน เช่น
กิจกรรม “ศึกษา”
สามารถจะจัดรูปแบบหรือวิธีการ “ศึกษา” ได้หลายวิธี เช่น
- ฟังคำอธิบายจากครู
- ค้นคว้าจากห้องสมุดของโรงเรียน
- ค้นคว้าจากแหล่งวิทยาการอื่นๆ
- เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นมาบรรยาย
- ออกไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่น
- ออกไปสำรวจดูสภาพจริงในพื้นที่
- สังเกตสิ่งแวดล้อม
- ออกไปทัศนศึกษา
- รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
- นำหรือพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้
-วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เช่น
ความสัมพันธ์ด้านความเหมือนและความแตกต่างสิ่งที่เป็นเหตุและผล ฯลฯ
จะเห็นได้ว่ากิจกรรมการ “ศึกษา” นั้น โรงเรียนสามารถ “ศึกษา” ตามที่กำหนดได้ด้วยวิธีการต่างๆ
หลายวิธี และแต่ละวิธีมีขั้นตอนของการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าโรงเรียนต้องตัดสินใจเลือกหรือปรับกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นลักษณะใดก็ตาม
กิจกรรมที่จัดนั้นต้องเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้เรียนรู้จริงเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองได้มากที่สุดต้องจัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ได้จากการวางแผนอย่างมียุทธศาสตร์ของโรงเรียน
ที่สำคัญต้องไม่ทำให้จุดประสงค์การเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป
2. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดของเนื้อหา
การพัฒนาหลักสูตรลักษณะนี้
เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากที่โรงเรียนได้วิเคราะห์เนื้อหา/คำอธิบายรายวิชามาแล้ว
โรงเรียนต้องนำเอาผลการวิเคราะห์ในส่วนที่เป็นเนื้อหามาวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าจากหัวข้อหรือขอบข่ายเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดไว้ในแต่ละหัวข้อนั้นควรมีการเพิ่มเติมวิเคราะห์รายละเอียดอะไรอีกบ้างว่าพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดเนื้อหานี้
โรงเรียนสามารถพิจารณากำหนดรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่
โดยต้องไม่ทำให้จุดประสงค์การเรียนรู้เปลี่ยนไปและต้องไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลาและผู้เรียนด้วยการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะนี้
โรงเรียนสามารถดำเนินการได้เอง
3. การพัฒนาหลักสูตรโดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
การพัฒนาหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
ด้วยการเลือก ปรับปรุงหรือจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ มีลักษณะดังนี้
3.1 ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
จำแนกประเภทตามลักษณะของสื่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
3.1.1 หนังสือเรียน
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้สำหรับการเรียนมีสาระตรงที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง
อาจมีลักษณะเป็นเล่ม เป็นแผ่นหรือเป็นชุดก็ได้
3.1.2 คู่มือครู แผนการสอน แนวการสอน
หรือเอกสารอื่นๆ
ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
3.1.3 หนังสือเสริมประสบการณ์
เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการศึกษาหาความรู้ของตนเอง
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษา
การเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน การเพิ่มพูนความรู้
ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น
หนังสือประเภทนี้โรงเรียนควรจัดไว้บริการครูและนักเรียนในโรงเรียน
หนังสือเสริมประสบการณ์จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. หนังสืออ่านนอกเวลา เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรนอกเหนือจากหนังสือเรียนสำหรับให้นักเรียนอ่านนอกเวลาเรียน
โดยถือว่ากิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับหนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามหลักสูตร
2. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เป็นหนังสือที่มีสาระอิงหลักสูตรสำหรับให้นักเรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
ตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถในการอ่านของแต่ละบุคคล
หนังสือประเภทนี้เคยเรียกว่าหนังสืออ่านประกอบ
3. หนังสืออุเทศ เป็นหนังสือสำหรับใช้ค้นคว้าอ้างอิงเกี่ยวกับการเรียน
โดยมีการเรียบเรียงเชิงวิชาการ
4. หนังสือส่งเสริมการอ่าน
เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เน้นไปในทางส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่าน
และมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้นอาจเป็นหนังสือวรรณคดี นวนิยาย นิยาย ฯลฯ
ที่มีลักษณะไม่ขัดต่อวัฒนธรรม ประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ให้ความรู้
มีคติและสาระประโยชน์
3.1.4 แบบฝึกหัด
เป็นสื่อการเรียนสำหรับให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ
เพื่อช่วยเสริมให้เกิดทักษะและความแตกฉานในบทเรียน
3.1.5 สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เช่น สื่อประสม
วีดีทัศน์ เทปบันทึกเสียง ภาพพลิก แผ่นภาพ เป็นต้น
สื่อการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนสามารถเลือกใช้
ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม
3.2 การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนมีหลายประเภทตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
และสื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป
อีกทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ผลิตจากส่วนกลางก็มักจะให้เนื้อหาทั่วไปๆ
ซึ่งไม่เจาะจงเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง
ฉะนั้นโรงเรียนจึงควรเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นตน
โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.2.1 วิเคราะห์หลักสูตร โดยวิเคราะห์จุดประสงค์
คำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชา และคาบเวลาเรียน ที่ปรากฏในหลักสูตรว่า
วิชา/รายวิชานั้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เจตคติ ค่านิยม ทักษะ
และการปฏิบัติอย่างไร มีขอบข่ายเนื้อหาเพียงใด และมีคาบเวลาเรียนเท่าไร
เพื่อนำมากำหนดสื่อการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3.2.2 สำรวจ
รวบรวมสื่อการเรียนการสอน
ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับจุดประสงค์และคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาจากแหล่งต่างๆ
เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ร้านจำหน่ายหนัง ฯลฯ
เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร
3.2.3 วิเคราะห์สื่อการเรียนการสอน ที่ได้จากการสำรวจและรวบรวมไว้ตามข้อ
3.2.2 เพื่อพิจารณาว่าสื่อการเรียนการสอนดังกล่าวสามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตรได้หรือไม่เพียงใด
3.3 การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน
โรงเรียนอาจปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนทั้งหนังสือเรียน
คู่มือครู แผนการสอน แนวการสอนหนังสือเสริมประสบการณ์
ให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ปรับรายละเอียด หรือให้เป็นปัจจุบันได้
3.4 การจัดทำสื่อการเรียนการสอน
เมื่อโรงเรียนได้วิเคราะห์สื่อการเรียนการสอนเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นแล้วพบว่า
มีความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่เพื่อให้สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เช่น หนังสือเรียน คู่มือครู แผนการสอน หนังสือเสริมประสบการณ์ แบบฝึกหัด
สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เป็นต้น
4. การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ แนวการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติม
การพัฒนาหลักสูตรลักษณะนี้เป็นการจัดทำวิชาหรือรายวิชาขึ้นใหม่
หลังจากที่ศึกษามาแล้วพบว่า
สิ่งที่ควรพัฒนานั้นไม่มีปรากฏอยู่ในหลักสูตรของกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชา/กลุ่มวิชาใดๆ
ในหลักสูตรแกนกลาง การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำรายวิชา/รายวิชาขึ้นใหม่นี้
ควรดำเนินการในรูปแบบของคณะทำงานโดยมีขั้นตอนการจัดทำดังนี้
1. ศึกษาจุดหมายของหลักสูตร จุดประสงค์และโครงสร้าง
เนื้อหาของกลุ่มประสบการณ์/กลุ่มวิชา/รายวิชาต่างๆ จากหลักสูตรแกนกลาง
เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาจัดทำและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกับเนื้อหาที่มีอยู่
2.
นำเอาผลการศึกษาผลการวิเคราะห์สภาพที่ควรจะเป็นของการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นที่ได้จากการวางแผนอย่างมียุทธศาสตร์มาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดจุดประสงค์และเนื้อหา
3. กำหนดจุดประสงค์ของวิชา/รายวิชาที่จะดำเนินการจัดทำขึ้นใหม่ โดย
3.1 วิเคราะห์จากปัญหา/ความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งได้แก่
สิ่งที่ต้องการให้รู้พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดและเงื่อนไขต่างๆ (ถ้ามี)
3.2
กำหนดจุดประสงค์ให้ครอบคลุมกับสภาพที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบรายวิชานั้น
ไม่ใช่การดำเนินการงานหรือกิจกรรม
4. กำหนดเนื้อหา โดยการวิเคราะห์จากจุดประสงค์
ซึ่งระบุคำหลักของจุดประสงค์รายวิชานั้น ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้
(สิ่งที่ให้ผู้เรียน/ศึกษา) และส่วนที่เป็นทักษะ (สิ่งที่ต้องการฝึก)
เนื้อหาที่กำหนดนี้ต้อง
4.1 สอดคล้องกับจุดประสงค์รายวิชา
4.2 ประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้และทักษะ
4.3 เหมาะสมกับวัยและพื้นความรู้ของผู้เรียน
4.4 เหมาะสมกับคาบเรียน
4.5 ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติ
ระบบการปกครองตามหลังประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี
5. กำหนดคาบเวลาเรียนสำหรับคำอธิบายหรือรายวิชาที่จัดทำขึ้นใหม่
ในการกำหนดคาบเวลาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข เช่น ระดับประถมศึกษา
จำนวนคาบเวลาเรียนที่กำหนดขึ้นนั้นต้องไม่ทำให้คาบเวลาเรียนสำหรับกลุ่มประสบการณ์/หน่วยย่อยที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป
6. เขียนคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชา
ให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแม่บทโดยระบุแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
7. จัดทำเอกสารชี้แจงรายละเอียดประกอบการจัดทำวิชาหรือรายวิชาที่จัดทำขึ้นใหม่
ตามแบบฟอร์มที่กำหนด โดยให้มีรายละเอียดเนื้อหา ประกอบด้วย
7.1 เหตุผลความจำเป็น
7.2 จุดประสงค์ (ของวิชา/รายวิชาที่จัดทำ)
7.3 ขอบข่ายเนื้อหา
7.4 แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
7.5 สื่อการเรียนการสอนที่สามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน
7.6 แนวการวัดผลประเมินผล
8. ในการเสนอขออนุมัติ ให้ส่งเอกสารในข้อ 6 และ 7 ให้แก่หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติ
เมื่อได้รับอนุมัติและกระทรวงศึกษาธิการให้ใช้คำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาดังกล่าวแล้วจึงนำเอาคำอธิบายหรือรายวิชาดังกล่าวมาจัดทำการเรียนการสอนในโรงเรียนและต้องไม่ลืมว่า
เนื้อหารายวิชาที่ทำขึ้นใหม่ต้องไม่เป็นเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาที่มีอยู่แล้วในแม่บท
เนื้อหาในกลุ่มประสบการณ์/รายวิชา/กลุ่มวิชาเดียวกันหรือต่างกลุ่มกันก็ตาม
ดังนั้นต้องตรวจสอบรายละเอียดของเนื้อหาก่อนลงมือพัฒนา
สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาที่จัดทำประกอบด้วยเกณฑ์ต่างๆ
ดังนี้
1. สนองและสอดคล้องกับหลักการ จุดหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร
2.
เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างความรู้ในแต่ละกลุ่มประสบการณ์หรือกลุ่มวิชาตามที่โครงสร้างหลักสูตรทั้ง 3ระดับกำหนดไว้
3. สอดคล้องและสนองต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม
และความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
4. มีความสมบูรณ์และความพร้อมเพียงพอในการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
ปัจจัย กระบวนการ ผลผลิตและผลกระทบ
5. เป็นผลผลิตจากการนำข้อมูลในระดับท้องถิ่นมาพัฒนาการเรียนการสอน
ทั้งในด้านหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และเทคนิคการสอน
6.
ไม่เป็นเนื้อหาวิชา/รายวิชาที่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาวิชาหรือรายวิชาที่มีอยู่ในหลักสูตรแกนกลาง
7.
ไม่มีเนื้อหาที่กล่าวมาโดยตรงกับพาดพิงในลักษณะที่ลบหลู่สถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ ไม่ขัดต่อหลักการปกครองระบบประชาธิปไตย ไม่ขัดกับหลักศีลธรรมอันดี
และไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ
8.มีรูปแบบและวิธีการเขียนสอดคล้อง และเป็นไปตามที่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
จากรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรด้วยการปรับกิจกรรม ปรับเนื้อหา
ปรับปรุงสื่อ และเพิ่มเติมรายวิชาดังกล่าวมาแล้ว
กรมวิชาการได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น
และปรับปรุงแบบการพัฒนาหลักสูตรด้วยการเพิ่มกิจกรรมการจัดทำสื่อใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543: 4-6) มีดังนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 ด้านการศึกษา
1.2 ด้านเศรษฐกิจ
1.3 ด้านสังคมวัฒนธรรม
1.4 ด้านสิ่งแวดล้อม
1.5 ด้านการสื่อสาร/คมนาคม
1.6 ด้านประชากร
2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรในด้านต่างๆ ดังนี้
2.1 หลักการ จุดหมาย และโครงสร้าง
2.2 จุดประสงค์และคำอธิบายรายวิชา
3. วางแผนและจัดทำหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในลักษณะต่างๆเช่น 3.1 การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
3.2 การปรับรายละเอียดเนื้อหา
3.3 ปรับปรุง และ/หรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
3.4 จัดทำสื่อการเรียนขึ้นใหม่
3.5 จัดทำคำอธิบายและรายวิชาเพิ่มเติม
4. กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้
5. จัดทำแผนการสอน
การพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในลักษณะที่ 3.1-3.4 สถานศึกษาไม่จำเป็นตองขออนุมัติ/ขออนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ
สถานศึกษาสามารถดำเนินจัดทำคำอธิบาย หรือคำอธิบายรายวิชาขึ้นมาใหม่แล้ว
สถานศึกษาจะต้องดำเนินการเสนอในกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับการอนุมัติและกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ใช้ได้แล้วจึงจะสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้
ดังภาพประกอบ 10 ดังนี้
5.2.2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ (2541 : 2) เปิดโอกาสให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรได้เอง
โดยพัฒนา “หลักสูตรท้องถิ่น” และให้ความหมายว่า
เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนหรือสร้างจากหลักสูตรแกนกลางที่ปรับให้เข้ากับสภาพชีวิตจริงของผู้เรียนตามท้องถิ่นต่างๆ
หรือสร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อผู้เรียน
หลักสูตรท้องถิ่นมีความสอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ
เน้นการเรียนรู้ชีวิตของตนเอง ปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการ
การใช้เทคโนโลยีและข่าวสารข้อมูลในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพชีวิตจริงของตนเอง
สามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของครอบครัวและท้องถิ่นได้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมการศึกษานอกโรงเรียนที่นำหลักสูตรแกนกลางมาปรับให้เข้ากับสภาพของผู้เรียน
ซึ่งแตกต่างไปตามท้องถิ่นต่างๆ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางที่สัมพันธ์กับสภาพปัญหาของชุมชน
การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
ครูและผู้เรียนต้องร่วมกันศึกษาหลักสูตรแกนกลางที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนสร้างขึ้น
กำหนดหมวดวิชาต่างๆ ที่ผู้เรียนแต่ละระดับต้องเรียน
เนื้อหาหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดเป็นเนื้อหากลางทั่วไปตามหลักทฤษฎีของหมวดวิชานั้นๆ
ศึกษารายละเอียดของแต่ละหมวดวิชา วิเคราะห์หัวข้อของเนื้อหาดังนี้
1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางในระดับที่นำมาจัดการเรียนการสอน (ประถม
มัธยมต้น มัธยมปลาย ทุกหมวดวิชา)
1.2
วิเคราะห์หัวข้อเนื้อหาที่ต้องพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นตามสภาพปัญหาของชุมชนที่สำรวจมาแล้ว
และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของท้องถิ่น
1.3
พิจารณาหัวข้อเนื้อหาในหมวดวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องนำมาจัดหมวดหมู่ด้วยกันในลักษณะบูรณาการเนื้อหา
ขั้นตอนที่ 2 การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน
นำสภาพปัญหาและความต้องการที่สำรวจและวิเคราะห์แล้วมาพิจารณาร่วมกับหัวข้อเนื้อหา
หมวดวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรที่กำหนดเป็นหมวดวิชาแกนในการพัฒนาเป็นหลักสูตรโรงเรียนแล้วจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการหลังจากนั้นจัดลำดับความสำคัญตามสภาพปัญหาของท้องถิ่นที่พบ
ขั้นตอนที่ 3 การเขียนแผนการสอนโดยดำเนินการดังนี้
3.1 การกำหนดหัวข้อปัญหา (theme) หัวข้อเนื้อหาของการเรียนการสอน
3.2 การเขียนสาระสำคัญ (concept) เป็นบทสรุปใจความสำคัญของเรื่องเน้นความคิดรวบยอด หลักการ
ทักษะหรือลักษณะนิสัยที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดกับผู้เรียน
3.3 การกำหนดขอบเขตเนื้อหา
ให้ระบุว่าหัวข้อเนื้อหาครอบคลุมและสัมพันธ์กับ วิชาใด
3.4 กำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทางเป็นจุดประสงค์ที่คาดว่าผู้เรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร
หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้
ทักษะและทัศนะคติอย่างไรเมื่อเรียนจบเรื่องนั้นแล้ว
3.5 การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง
เป็นการกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนในแต่ละหัวเรื่องย่อยที่ปรารถนาให้เกิดกับผู้เรียน
นิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
3.6 การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้กำหนดกิจกรรมตามขั้นตอนของทฤษฎีเชิงระบบ (System Approach)
3.7 สื่อการเรียนการสอน
ต้องระบุให้ชัดเจนว่าในการเรียนการสอนแต่ละหัวข้อเนื้อหาต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง
และสามารถจัดหาจากที่ใด โดยวิธีใด ต้องระบุเป็นรายข้อตามจุดประสงค์
3.8 การประเมินผล
เป็นการเขียนแนวทางการประเมินผลของการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละขั้นตอนตามจุดประสงค์ที่กำหนด
โดยให้ผู้เรียนรวบรวมผลงานไว้ นำเสนอครูประจำกลุ่ม โดยการพรรณนางานที่รวบรวมไว้
เกี่ยวกับอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร ผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการรวบรวมผลงาน
และมีแนวคิด มีการพัฒนาอะไรต่อไป มีความพึงพอใจกับชิ้นงานมากน้อยเพียงใด
ขั้นตอนที่ 4 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ครูและผู้เรียนร่วมกันพัฒนาโดยมีสถานศึกษาอำนวยความสะดวกและกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ซึ่งสถานศึกษาโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นผู้อนุมัติหลักสูตรที่ครูและผู้เรียนร่วมกันพัฒนาขึ้นตามความต้องการทางนโยบายของรัฐความต้องการทางการศึกษาและความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้เรียน
โดยมีวิธีดำเนินตามลำดับ ดังนี้
4.1 ครูนำหลักสูตรท้องงถิ่นที่พัฒนาแล้ว
นำเสนอศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
เพื่อนำเสนอศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นรายภาคเรียน
แต่ในกรณีไม่ต้องขออนุมัติใหม่หรือในกรณีหลักสูตรวิชาชีพให้นำเสนอเป็นคราวๆ ไป
ที่พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรแกนกลาง
4.2 ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตามสภาพความเป็นไปได้ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการหาความรู้ (Input) กระบวนการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับ/ประยุกต์ใช้ (Process)
และกระบวนการแสดงผลของความรู้หรือการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้กับชีวิต (Output)
4.3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามกระบวนการ
โดยยึดวิธีของทฤษฎีเชิงระบบ (Systems Approach: I-P-O)
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล
การประเมินผลเน้นการประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง (Authentic
assessment)
ซึ่งประเมินอิงความสามารถและการพัฒนาผู้เรียนมุ่งเน้นความก้าวหน้า
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นชีวิตจริงของผู้เรียนแต่ละคนสะท้อนให้เห็นสภาพของงานและสิ่งที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ
โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างคำตอบด้านการแสดง
การสร้างสรรค์ผลผลิตของงานเป็นการประเมินผลงานของผู้เรียนที่ได้ทำจริง ปฏิบัติจริง
ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการเรียน หรือกระบวนการรวบรวมเหตุการณ์
ข้อมูลที่ผู้เรียนทำได้และแปลความหมายของข้อมูลหรือเหตุการณ์แล้วตัดสินใจจากข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น
ในทางปฏิบัตินิยมใช้วิธีการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงความสามารถ ความก้าวหน้าของผู้เรียน จากการรวบรวมข้อมูลผลผลิต
การแสดงออก การประเมินจากสภาพจริง
ในงานที่มีความหมายและมีเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนจะสะท้อนถึงความสามารถ
การถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับ
โครงสร้างและประมวลความรู้ความคิดในขั้นสูงรวมทั้งคุณภาพของการแสดงออกและผลผลิตที่มีคุณภาพ
ตาราง 1 แสดงรูปแบบ/สาระของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เสนอ
|
รูปแบบ/สาระ
|
ไทเลอร์
|
หลักการและเหตุผลของการพัฒนาหลักสูตร
ต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่สำคัญ
4 ประการ คือ จุดมุ่งหมาย
ประสบการณ์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และประเมินอย่างไรจึงจะทราบว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย
|
ทาบา
|
การพัฒนาหลักสูตรแบบรากหญ้า (Grass-roots approach)
หลักสูตรควรได้รับการออกแบบโดยครูผู้สอนมากกว่าพัฒนาจากองค์กรที่อยู่สูงขึ้น
โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 7 ขั้นตอน คือ 1. วิเคราะห์ความต้องการ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย 3.
คัดเลือกเนื้อหา 4. การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
5. การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
6. การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ 7. กำหนดวิธีวัดและประเมินผล
|
เซย์เลอร์
อเล็กซานเดอร์
และเลวิส
|
การพัฒนาหลักสูตร
ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ
4 ขั้นตอน คือ 1.
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2. การออกแบบหลักสูตร
3. การนำหลักสูตรไปใช้ 4.
การประเมินผลหลักสูตร
|
โอลิวา
|
การพัฒนาหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ 12 ขั้นตอน คือ 1. จุดหมายของการศึกษา 2.
ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน 3. เป้าหมายหลักสูตร 4. จุดประสงค์หลักสูตร
5. นำหลักสูตรไปใช้ 6. เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนแต่ละระดับ 7.
จุดประสงค์การจัดการเรียนแต่ละรายวิชา 8. เลือกยุทธวิธีในการสอน 9.
เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนนำไปสอนจริง 10. นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง
11. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
|
สกิลเบ็ก
|
การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นพลวัต
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ 3.
การออกแบบการจัดการเรียนการสอน 4. การนำหลักสูตรไปใช้ 5.
การประเมินการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร
|
วอล์คเกอร์
|
การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดเชิงประจักษ์นิยม
ประกอบด้วยขั้นตอน
3 ขั้นตอน คือ 1.
การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. การพิจารณาไตร่ตรอง
3. การออกแบบหลักสูตร
|
กรมวิชาการ
|
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5
ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร 3.
วางแผนและจัดทำหลักสูตร
4. กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ 5.
จัดทำแผนการสอน
|
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
|
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5
ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์หลักสูตร
แกนกลาง 2.
การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน 3. การเขียนแผนการสอน
4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. การประเมินผลผู้เรียน
|
แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรของไทยนั้นยังมีน้อยมาก
ส่วนมากจะเป็นรูปแบบตามแนวคิดของชาวต่างประเทศ
ซึ่งนักการศึกษาหลายท่านได้เสนอรูปแบบไว้ดังนี้
5.2.4 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler)
ใน ค.ศ. 1949 ไทเลอร์ได้เขียนหนังสือเรื่อง Basic
Principles of Curriculum and Instruction ซึ่งเสนอแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่รู้จักกันดี
คือ หลักสูตรและเหตุผลพื้นฐาน 4 ประการ คือ
1. มีความมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา
2. มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
3. จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ
4. จะประเมินผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
จากพื้นฐานทั้ง 4 ข้อ ชี้ให้เห็นว่า
การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน
และการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรด้วย
รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก
1. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ก่อนจะกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างกว้างๆ นั้น จะต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น แหล่งแรกคือสังคม
ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม
โครงสร้างที่สำคัญทางสังคม และความมุ่งหวังทางสังคม เป็นต้น
แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียน ซึ่งเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจ ความสามารถและคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ
และแหล่งที่สามก็คือ คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาการต่างๆ
หรือจากผลการวิจัยที่สรุปให้ข้อคิดเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรจัดการเรียนการสอนแล้วนำมาประมวลเข้าด้วยกันจนเป็นจุดมุ่งหมายอย่างกว้างๆ
ของหลักสูตรหรือจุดประสงค์ชั่วคราว (Tentative Objectives)
จากนั้นจุดประสงค์ชั่วคราวจะได้รับการกลั่นกรองจากข้อมูลด้านปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาสังคม และจิตวิทยาการเรียนรู้
ซึ่งจะตัดทอนจุดประสงค์ที่ไม่จำเป็นออกและทำให้จุดประสงค์มีความชัดเจนขึ้น
จุดประสงค์ที่ได้นี้เป็นจุดประสงค์ที่แท้จริงในการพัฒนาหลักสูตร จากนั้นจึงเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้หรือประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดขึ้น
2. การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนที่คาดหวังจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์อย่างไร กิจกรรมที่จัดทั้งในการเรียนการสอนและส่วนเสริมหลักสูตรนั้นมีอะไร ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้กระบวนการการเรียนการสอนดำเนินไปเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ไทเลอร์ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ดังนี้
2.1 ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรม และเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
2.2
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ได้ระบุไว้ในจุดประสงค์
2.3 กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะอยู่ในขอบข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
2.4 กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆ
ด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียว
2.5
ในทำนองเดียวกันกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตอบสนองจุดประสงค์หลายๆ
ข้อได้
นอกจากนั้น
ไทเลอร์ยังเน้นเกี่ยวกับการพิจารณาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในด้านเวลาต่อเวลา
และเนื้อหาต่อเนื้อหา เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบ แนวตั้ง
(Vertical) กับ แนวนอน (Horizontal) ซึ่งมีเกณฑ์ในการจัดดังนี้
1. ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง
ความสัมพันธ์ในแนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตรจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้นไปเช่น
ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ
และต่อเนื่องกัน
2. การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง
ความสัมพันธ์ในแนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของหลักสูตรจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนไปสู่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง
หรือจากสิ่งที่มีความง่ายไปสู่ที่มีความยาก ดังนั้น การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้มีการเรียนลำดับก่อนหลังเพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. บูรณาการ (Integration) หมายถึง
ความสัมพันธ์กันในแนวนอนขององค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตร
จากหัวข้อเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกหัวข้อเนื้อหาหนึ่งของรายวิชา
หรือจากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันการจัดประสบการณ์จึงควรเป็นลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน
เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถของผู้เรียนให้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์
(Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์แวดล้อม
3.การประเมินผล เพื่อที่จะตรวจสอบดูว่าการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่สมควรจะมีการปรับแก้ไขส่วนใดบ้าง ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
3.1 กำหนดจุดประสงค์ที่จะวัดและพฤติกรรมที่คาดหวัง
3.2 วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
3.3
ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือที่จะวัดพฤติกรรมเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
3.4 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
3.4.1 ความเป็นปรนัย (Objectivity)
3.4.2 ความเชื่อมั่นได้ (Reliability)
3.4.3 ความเที่ยงตรง (Validity)
3.4.4 ความถูกต้อง (Accuracy)
3.5 การพิจารณาผลการประเมินให้เป็นประโยชน์เพื่ออธิบายผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การอธิบายถึงส่วนดีของหลักสูตรหรือสิ่งที่จะต้องปรับแก้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จากรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการสอนของไทเลอร์ เมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์และจะพบว่า การพัฒนาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนคล้ายกับวิธีการของไทเลอร์มาก
เช่น การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ไทเลอร์ได้ใช้สังคมปัจจุบันเป็นพื้นฐานและการจัดการศึกษาของเราในปัจจุบันนี้ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์สังคมจนสรุปออกมาเป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาว่าเป็น
“การศึกษาเพื่อพัฒนาตนและทำประโยชน์ให้กับสังคม” แนวคิดของไทเลอร์ได้สนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
และกระบวนการเรียนการสอน
และนอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย
สรุป(Summary)
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของชาติเพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นภารกิจสำคัญที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญและทำหน้าที่ในจุดนี้อย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ได้หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ดีในการจักการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศตามจุดมุ่งหมายในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะต้องมีการวางแผนเพื่อการพัฒนานับแต่การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการเลือกรูปแบบที่เหมาะสม
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายอย่างกว้างขวาง
ที่สามารถพัฒนาได้ทั้งกระบวนการนับแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายการจัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้
การประเมินผลหลักสูตร
และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรเฉพาะส่วนที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข
ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาหรือพัฒนาในส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้
หรือการจัดการเรียนการสอนก็ตามจุดประสงค์สำคัญก็คือการให้ได้มาซึ่งหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพสามารถนำมาจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนสังคมและประเทศชาติ
สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญทั้งด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา
และสามารถรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้
ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
1. การพัฒนาหลักสูตร
มีหลักการและขั้นตอนสำคัญ
2. ในการพัฒนาหลักสูตรแนวคิดรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของใครที่ควรนำมาใช้
ด้วยเหตุผลใดเป็นสำคัญ
กิจกรรม(Activity)
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก
สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร :
ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร :
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ”
3.แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา
หรือผู้รู้ เกี่ยวกับจุดเด่นจุดด้อยของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น