1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ
การพัฒนาหลักสูตรนั้นมีแนวคิดอยู่ 2
ลักษณะด้วยกัน คือ การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่
โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย
และการปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น ความหมายของคำว่า
“การพัฒนาหลักสูตร” จะรวมไปถึงการผลิตเอกสารต่างๆ สำหรับผู้เรียนด้วย (Saylor
and Alexander 1974, P.7)
ซึ่งระบบการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตร ได้แก่
การร่างหรือพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร
ได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้พัฒนารูปแบบหลักสูตรตามแนวคิดที่แตกต่างกัน
นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ไทเลอร์ (Ralph
W. Tyler) ได้ให้หลักเกณฑ์และเหตุผลไว้ว่า
ในการพัฒนาหลลักสูตรและวางแผนการสอนนั้น จะต้องตอบคำถาม 4 ประการ ดังนี้
มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ที่โรงเรียนควรแสวงหา
มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น
จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร
จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไรจึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ในการกำหนดจุดมุ่งหมายนั้น
ขั้นแรกต้องกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายชั่วคราวก่อน โดยต้องนำบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น
บริบททางด้านสังคม
ด้วยการนำสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอย่างไร
และมีการศึกษาตัวผู้เรียน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาแนวคิดของนักวิชาการ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้แสวงหาคำตอบที่ชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายหรือทิศทางของการศึกษา
การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนที่คาดหวังว่าจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนและส่วนเสริมหลักสูตรนั้นมีอะไร
ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
โดยไทเลอร์ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ดังนี้
ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและการเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นทำให้ผู้เรียนพอใจปฏิบัติการเรียนรู้
อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นอยู่ในข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆ
ด้านของการเรียนรู้ อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในด้านเวลาต่อเวลา
และเนื้อหาต่อเนื้อหา เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวตั้ง (Vertical) กับแนวนอน (Horizontal) ซึ่งมีเกณฑ์การจัดตาม
ความต่อเนื่อง (Continuity) การจัดช่วงลำดับ
(Sequence) และการบูรณาการ (Integration)
การประเมินผล
เพื่อตรวจสอบดูว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
สมควรมีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบของทาบา
(Hilden Taba) มีลักษณะจากล่างขึ้นบน (grassroots
approach) โดยใช้วิธีอุปนัย ทาบาเสนอไว้ว่า
หลักสูตรควรมาจากครูผู้สอนมากกว่าผู้บริหารระดับสูง
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของทาบามีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหา
สำรวจความต้องการและความจำเป็นต่างๆ ของสังคม ศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน
กระบวนการเรียนรู้ และธรรมชาติของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ขั้นที่ 2
การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลัก
ควรเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง และเป็นแนวทางในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
ต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
เนื้อหาที่คัดเลือกบรรจุลงในหลักสูตรจะต้องมีความสำคัญและถูกต้อง
ขั้นที่ 4 การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
พิจารณาถึงความเหมาะสมในการที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใดก่อนหลัง
ซึ่งจะต้องมีความต่อเนื่องและเป็นลำดับขั้นตอน
ขั้นที่ 5
การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการศึกษาถึงกระบวนการเรียนรู้
และวิธีการสอนแบบต่างๆ
จะต้องวางแผนเลือกประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน
ขั้นที่ 6
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้เลือกแล้ว เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่บรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้
ขั้นที่ 7 การประเมินผล
เป็นการพิจารณาว่าหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
มีปัญหาหรือข้อบกพร่องในขั้นตอนใด เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
(Saylor and Alexander 1981,
P. 30-39) ได้เสนอแนวคิดว่า
การพัฒนาหลักสูตรจะไม่ดำเนินไปในลักษณะเส้นตรง
การจะเริ่มที่ขั้นตอนหรือกระบวนการก็ได้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ และขอบเขต โดยกำหนดขอบเขตของเป้าหมายไว้ 4 ประการ คือ
ประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย พัฒนาการของบุคคล ความสามารถทางสังคม
ทักษะการเรียนรู้ และความชำนาญเฉพาะด้าน
ขั้นที่ 2 การออกแบบหลักสูตร
เป็นการตัดสินใจโดยใช้เป้าหมาย วัตถุประสงค์และขอบเขต พร้อมทั้งพิจารณาข้อมูลอื่นๆ
ประกอบ เช่น ธรรมชาติของวิชา ความสนใจของผู้เรียน และสังคม เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้
เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำวิธีสอนต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้ไปปฏิบัติวิธีการสอน
รวมทั้งสื่อต่างๆ ที่นำไปใช้ต้องเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
ขั้นที่ 4 การประเมินผลหลักสูตร
ผู้สอนจะต้องเลือกใช้วิธีประเมินผลแบบต่างๆ เพื่อบอกความก้าวหน้าของผู้เรียน
รวมทั้งประสิทธิภาพการสอน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา (Oliva)
1.จุดมุ่งหมายของการศึกษา
(Aims of Educatioj ) และหลักการปรัชญาและจิตวิทยาจากการวิเคราะห์ความต้องการจะเป็นของสังคมและของผู้เรียน
2.วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นขอุมชนที่สถานศึกษานั้นๆ
ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในชุมชน
และเนื้อหาวิชาที่จำเป็นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3.
เป้าหมายของหลักสูตร (Curriculum Goals) โดยอาศัยข้อมูลจากขั้นที่
1 และ 2
4.
จุดประสงค์ของหลักสูตร (Curiiculum Objectives) อาศัยข้อมูลจากขั้นที่
1, 2 และ 3 แตกต่างจากขั้นที่ 3
คือมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้หลักสูตร
และการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
5.
รวบรวมและนำหลักสูตรไปใช้ (Organization and Implementation
of the curriculum) เป็นขั้นของการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
6.
กำหนดเป้าหมายของการสอน (Instructional Goals) ของแต่ละระดับ
7.
กำหนดจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน (Instructional
Objectives) ในแต่ละรายวิชา
8. เลือกยุทธวิธีในการสอน
(Selection of Strategies) เป็นขั้นที่ผู้เรียนเลือกยุทธวิธีที่เหมาะสม
9.
เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนที่นำไปสอนจริง คือ 9A
(Preliminary selection of evaluation techniques) และกำหนดวิธีการประเมินผลหละงจากกิจกรรมการเรียนการสอนสิ้นสุด
คือ 9B (Find selection of evaluation techniques)
10.
นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง (Implementation of Strategies) เป็นขั้นของการใช้วิธีการที่กำหนดในขั้นที่
8
11.
ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (Evaluation of
Instruction) เป็นขั้นที่เมื่อการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้น
ก็มีการประเมินผลตามที่ได้เลือกหรือกำหนดวิธีการประเมินในขั้นที่ 9
12.
ประเมินหลักสูตร (Evaluation of curriculum) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้วงจรครบถ้วน
การประเมินผลที่มิใช่ประเมินผู้เรียนและผู้สอน
แต่เป็นการประเมินหลักสูตรที่จัดทำขึ้น
แสดงรูปแบบ/สาระของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เสนอ
|
รูปแบบ/สาระ
|
ไทเลอร์
|
หลักการและเหตุผลของการพัฒนาหลักสูตร
ต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่สำคัญ
4 ประการ คือ จุดมุ่งหมาย
ประสบการณ์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และประเมินอย่างไรจึงจะทราบว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย
|
ทาบา
|
การพัฒนาหลักสูตรแบบรากหญ้า (Grass-roots
approach)
หลักสูตรควรได้รับการออกแบบโดยครูผู้สอนมากกว่าพัฒนาจากองค์กรที่อยู่สูงขึ้น
โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 7 ขั้นตอน คือ 1. วิเคราะห์ความต้องการ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย 3. คัดเลือกเนื้อหา 4.
การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
5. การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ 6. การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้
7. กำหนดวิธีวัดและประเมินผล
|
เซย์เลอร์
อเล็กซานเดอร์
และเลวิส
|
การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ
4 ขั้นตอน คือ 1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2.
การออกแบบหลักสูตร
3. การนำหลักสูตรไปใช้ 4. การประเมินผลหลักสูตร
|
โอลิวา
|
การพัฒนาหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ 12 ขั้นตอน คือ
1. จุดหมายของการศึกษา 2. ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน 3.
เป้าหมายหลักสูตร 4. จุดประสงค์หลักสูตร 5. นำหลักสูตรไปใช้ 6.
เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนแต่ละระดับ 7. จุดประสงค์การจัดการเรียนแต่ละรายวิชา
8. เลือกยุทธวิธีในการสอน 9. เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนนำไปสอนจริง
10. นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง 11. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
|
สกิลเบ็ก
|
การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นพลวัต ประกอบด้วย 5
ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ 3.
การออกแบบการจัดการเรียนการสอน 4. การนำหลักสูตรไปใช้ 5.
การประเมินการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร
|
วอล์คเกอร์
|
การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดเชิงประจักษ์นิยม
ประกอบด้วยขั้นตอน
3 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.
การพิจารณาไตร่ตรอง
3. การออกแบบหลักสูตร
|
กรมวิชาการ
|
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1.
ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร 3.
วางแผนและจัดทำหลักสูตร
4. กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ 5.
จัดทำแผนการสอน
|
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
|
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1.
การวิเคราะห์หลักสูตร
แกนกลาง 2.
การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน 3. การเขียนแผนการสอน
4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. การประเมินผลผู้เรียน
|
3.แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้
เกี่ยวกับจุดเด่นจุดด้อยของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ
ตอบ
๑. ความหมายของหลักสูตร (Curriculum)
๑.๑ หลักสูตร คือ
เอกสารที่กำหนดโครงการศึกษาของผู้เรียน
๑.๒ หลักสูตร คือ
รายวิชาทั้งหมดที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาจัดให้เรียน
๑.๓ หลักสูตร คือ
ประสบการณ์ทุกอย่างที่นักเรียนหรือนักศึกษาพึงได้รับภายใต้การแนะแนวของ
โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา
๑.๔ หลักสูตร คือ
ประสบการณ์ทุกอย่างที่นักเรียนหรือนักศึกษาพึงได้รับโดยไม่จำกัดว่าเมื่อไร
และอย่างไร
๒. ความคิดเห็นของนักการศึกษา แบ่งออกเป็น
๒
กลุ่มใหญ่ๆ
ดังนี้
๒.๑ หลักสูตร หมายถึง แผน ประสบการณ์การเรียน
มองหลักสูตรในลักษณะที่เป็นเอกสาร
หรือโครงการการศึกษาที่สถาบันการศึกษาได้จัดวางแผนไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามแผน
หรือโครงการที่กำหนดไว้
ซึ่งรวมถึง
รายวิชา เนื้อหาวิชา
กิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผล
๒.๒ หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์การเรียนของผู้เรียนที่สถาบันการศึกษาจัดให้ซึ่งรวมถึง
แผนประสบการณ์การเรียนและการนำหลักสูตรไปใช้
หลักสูตรประกอบด้วยเป้าหมาย
และจุดมุ่งหมายเฉพาะ
ซึ่งบ่งถึงการเลือก
การจัดเนื้อหาและแสดงถึงการเรียนการสอน
รวมทั้งการประเมินผลด้วย
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรกับการเรียนการสอน
๔. กระบวนการพัฒนาหลักสูตร คำว่าองค์การที่เกี่ยวข้อง
เช่น
จะสร้างหลักสูตรแพทย์
๕. ระบบพัฒนาหลักสูตร
๖. องค์ประกอบของหลักสูตร
๗. รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตร ราล์ฟ
ดับเบิลยู
ไทเลอร์
(Ralph W. Tyler) ให้หลักการและเหตุผลในการสร้างหลักสูตรไว้
๔
ประการ
ซึ่งเรียกว่า "Tyler's rationale" โดยเขาให้หลักเกณฑ์ไว้ว่าในการจัดหลักสูตรและการสอนนั้น
ควรจะตอบคำถามที่เป็นพื้นฐาน
๔
ประการ
ไทเลอร์เน้นว่าคำถามจะต้องเรียงลำดับกันลงมา
ดังนั้นการตั้งจุดมุ่งหมายจึงเป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของไทเลอร์
๘. ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรของ Tyler
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอน
๙. การจัดองค์ประกอบของหลักสูตร
๑. ขอบข่ายของหลักสูตร (Scope)
๒. การบูรณาการ (Integration)
จะต้องเชื่อมโยงเนื้อหาจากสาขาวิชาหนึ่งไปยังเนื้อหาของอีกสาขาวิชาหนึ่งได้
๓. การเรียงลำดับขั้นตอน
(Sequence) จากง่ายไปหายาก
๔. ความต่อเนื่องกัน
(Continuity) จัดโอกาสให้กับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
(ให้เรียนซ้ำบ่อย
ๆ)
๕. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงและความสมดุล
(Articulation and Balance) จัดต้องสัมพันธ์กัน
๑๐.
รูปแบบของหลักสูตร
๑๐.๑ หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง
๑. หลักสูตรแบบรายวิชา เก่าแก่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด
เชื่อว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์ แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ
ก็คือ
สติปัญญาและการค้นคว้าหาความรู้ ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและ ผู้เรียน
ความรู้ที่ได้แยกเป็นส่วนๆ
เน้นที่ความจำ
รายวิชาไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน
นักเรียนเป็นผู้รับรู้
แต่เพียงอย่างเดียว
๒. หลักสูตรแบบสาขาวิชา ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ในระดับประถม
มัธยมศึกษาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษา
เน้นความรู้เฉพาะในสาขาวิชาของตน
จะต้องศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสาขาวิชา
ผู้เรียนปรับตัวเข้าหาหลักสูตร
สนใจแต่นักเรียนที่เก่ง
ไม่สนใจข้อมูลอื่นที่ไม่สามารถจัดเข้าเป็นสาขาวิชาได้
๓. หลักสูตรแบบรวมวิชา
เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการ
รวมหรือผสมผสานรายวิชาที่เกี่ยวข้องกัน
ตั้งแต่ ๒
รายวิชาขึ้นไปเข้าเป็นสาขาวิชาเดียว
(วิทย์ทั่วไป ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา
ฟิสิกส์)
๔. หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชาหรือสหสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กันระหว่างรายวิชานั้น
ๆ
หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จได้ยาก
เพราะครูในชั้นเรียนประถม
มักสอนคนเดียว
ระดับมัธยม
ครูสอนแยกแต่ละวิชา
ไม่มีเวลาพอที่จะทำงานเป็นทีมร่วมกับครูอื่นๆ
๑๐.๒ หลักสูตรแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
๑. หลักสูตรแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง เน้นที่ตัวเด็กแทนที่การเน้นเนื้อหาวิชา
เป็นการบูรณาการเนื้อหาให้เป็นหน่วยของประสบการณ์หรือปัญหาสังคม
๒.
หลักสูตรประสบการณ์
เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง
แต่ไม่อาจคาดหมายไว้ล่วงหน้าว่าความ สนใจและความต้องการของเด็กจะเป็นเช่นไร
๓. หลักสูตรแบบมนุษยนิยม ปล่อยให้นักเรียนเป็นอิสระเสรี
มีความคิดสร้างสรรค์
ให้เรียนตามความสามารถของตัวเองไม่ตั้งจุดมุ่งหมายเน้นคุณธรรมจริยธรรม
อารมณ์
ให้ผู้เรียนได้เปิดเผยตัวเอง
ต่างจากไทเลอร์
ซึ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ต้องตั้งจุดมุ่งหมายก่อนเพื่อแสดงพฤติกรรมที่วัดได้
๑๐.๓ รูปแบบที่เน้นปัญหาเป็นศูนย์กลาง
เน้นปัญหาการดำรงชีวิต
๑. หลักสูตรแบบเน้นสภาพชีวิตเน้นทางสังคม
ชีวิต
ความเป็นอยู่เรียนรู้โดยการแก้ปัญหา
ใช้ประสบการณ์ของผู้เรียนในอดีตและในปัจจุบันมาช่วยในการวิเคราะห์ด้านต่างๆ
ของชีวิต
มีการบูรณาการเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา
ข้อบกพร่อง
กิจกรรมที่ทำในปัจจุบันจะถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญในอนาคตได้หรือไม่
ไม่ได้ให้นักเรียนเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม
สนใจแต่สภาพปัจจุบัน
๒. หลักสูตรแกน มีการวางแผนเป็นอย่างดี
มีศุนย์กลางอยู่ที่วิชาศึกษาทั่วไป ปรับเปลี่ยนแผนที่วางไว้ได้ตามความเหมาะสม
๓. หลักสูตรเน้นการแก้ปัญหาสังคมและการปฏิรูปสังคม
สนใจที่จะเชื่อมโยงหลักสูตรเข้ากับการพัฒนาสังคมทางการเมืองและเศรษฐกิจ
๔. หลักสูตรที่เน้นชุมชนเป็นฐาน
๑๐.๔ หลักสูตรที่เน้นเทคโนโลยี
๑๐.๕ หลักสูตรแบบสมรรถฐาน
ทางพยาบาลจะใช้มาก
ระบุเจตคติ
๑๑. การประเมินหลักสูตร
๑๑.๑ การประเมินคืออะไร
๑. คือการพิจารณาคุณค่าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยมีเกณฑ์ประกอบ
เกณฑ์อาจเป็นคุณสมบัติ
คุณลักษณะ ข้อมูล
๒. คือการตรวจสอบการตัดสินใจ
คุณค่า
คุณภาพ
ความสำคัญ
๓. คือการรวบรวมข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ
๑๑.๒ เหตุผลที่ต้องประเมิน
๑. สถาบันได้สนองเจตนารมณ์ของสังคมเต็มที่เพียงไร
๒. ผลผลิตจากสถาบันมีคุณภาพอย่างไร
๓. ค่านิยมทางการศึกษาของคน
(ชุมชน) คืออะไร
๔. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเหมาะสมเพียงไร
๕. การทำงานได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
๖. มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง
๑๑.๓ การประเมินหลักสูตร
คือการหาคำตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลตามที่กำหนดไว้ในความมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่
มากน้อยเพียงใด
และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้หลักสูตรไม่สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย
๑๒. ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
๑. ขั้นพัฒนาหลักสูตร
ประเมินโครงร่างหลักสูตร
- โครงสร้างหลักสูตร
- ความมุ่งหมายของหลักสูตร
- เนื้อหา
- กิจกรรมการเรียนการสอน
- อุปกรณ์
สื่อการสอน
- การประเมินผลการเรียนการสอน
- บรรยากาศในการเรียน
- สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา
๒. ขั้นการใช้หลักสูตร ประเมินหลักสูตรที่ใช้จริง
- ประเมินในระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร
(formative evaluation)
- ประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของหลักสูตร
- การจัดการเรียนการสอน
- การบริหารหลักสูตร
๓. ขั้นผลิตผลของหลักสูตร ประเมินติดตามผล
- คุณภาพของบัณฑิต
- การทำงานของบัณฑิต
- ความพึงพอใจและความต้องการของนายจ้าง
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร (CIPP MODEL)
ผู้คิด DANIEL N.STUFFLEBEAM
บริบท - ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรกับปรัชญา
กฎหมาย แผนพัฒนา
นโยบาย

- ความเหมาะสมของโครงสร้างหลัดสูตร
ปัจจัยนำเข้า
- คุณลักษณะของนิสิต

- ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบัน
- แหล่งความรู้
กระบวนการ - การใช้หลักสูตร
Process - พฤติกรรมการสอน

- การบริหารหลักสูตร
- การปฏิบัติงานในระบบ
ผลผลิต - คุณภาพของบัณฑิต
Product -
สมรรถภาพในการทำงาน
-
ความพึงพอใจของผู้ใช้ บัณฑิต
๑๓. John Neisbitt (Magatrend) ให้มุมมองในอนาคตไว้ดังนี้
๑. การเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรม
๒. สังคมในอนาคต
ต้องการใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ระดับสูง
๓. เศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากระดับชาติไปสู่ระดับโลก
๔. การวางแผนจะเปลี่ยนจากการวางแผนระยะสั้นไปสู่การวางแผนระยะยาวและสู่การปฏิบัติ
๕. การบริการและการบริหารจะเปลี่ยนจากศูนย์รวมไปสู่การกระจายอำนาจ
๖. การเน้นการช่วยตนเองแทนการให้หน่วยงานช่วย
๗. ประชาธิปไตยจะเปลี่ยนจากประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนไปเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
๘. การจัดองค์การจะเปลี่ยนจากการแบ่งระดับชั้นไปเป็นการสร้างเครือข่าย
๙. เขตความเจริญจะเปลี่ยนจากทางเหนือมาเป็นแถบเอเซียแปซิฟิก
๑๐. จะเปลี่ยนสถานการณ์ที่มีทางเลือกสองทางเป็นหลายทาง
๑๔. การพัฒนาหลักสูตรในอนาคต
๑. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
(เครือข่ายวิชาการ
วิชาชีพ)
๒. พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development)
- จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่องตลอดชีวิต
๓. รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น
เช่นหลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ หลักสูตรเฉพาะกิจ
หลักสูตรฝึกอบรม
๔. เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น
๕.
มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย
๒
ประเทศ เช่น
เวียตนาม
เขมร
ลาว
มลายู
๖. มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ขัดกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ให้เทคโนโลยีเป็นนายเรา
๗. หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด
การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
และความสามารถในการสื่อสาร
พัฒนาคนให้คิดว้าง
คิดไกล
ใฝ่รู้
๘. ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล
นานาชาติ
และของไทย
ต้องรู้เขารู้เรา
๙. พัฒนาหลักสูตร ส่วนกลาง
๖๐
%
ส่วนท้องถิ่น ๔๐ %
๑๐.
จัดการเรียนการสอน
โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
๑๑.
จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกษาทุกระดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น